What is Nostr?
Tung Khempila / Tungkukk
npub1e8e…9tp3
2024-09-09 17:13:41

Tung Khempila on Nostr: Man’s Searching for Meaning. 16 ...

Man’s Searching for Meaning.

16 ล้านก๊อปปี้ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกโดย Victor Frankl ชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต้องถูกจับไปเป็นนักโทษของพวกนาซี

สาย Existentialism ที่นำไปสู่การดำรงค์อยู่อย่าง Nietzsche หรือ Heiddegger ควรที่จะอ่านมากกว่า สาย Post-Modernism ต้องเข้าใจก่อนว่า existentialism มันมีปัญหาตรงที่พวกเค้ามองการดำรงค์อยู่เป็นเพียง สูญญากาศ หรือ ความบังเอิญ ดังนั้น เราจึงควรที่จะสร้างความหมาย

ในทางจิตแพทย์หรือจิตวิทยามันดันกลับกันตรงที่ว่ามันคือการเติมเต็มความหมายของชีวิต หรือ คือการต่อจิ๊กซอ ให้กับความหมายหรือคุณค่านั้นๆ

หากอ่านงาน Dostoevsky ก็จะพบว่ามันคือเรื่องศาสนา อย่างตัวละครเอกของเรื่องอาชญากรรมและการลงทัณฑ์ ที่พบทางเลือกสองทางจากคนสองคน มันคือสิ่งที่เราเลือกที่จะมอบความหมายเพื่อเติมเต็มชีวิต

แฟรงค์อธิบายในรายละเอียดของการดำรงค์อยู่ของชีวิตนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทรมาน หรือ สภาวะอันโหดร้าย แต่ขึ้นอยู่กับเหตุผล (ที่ต้องการดำรงค์อยู่) เค้ายกตัวอย่างตัวเอง ซึ่งเป็นนักโทษ และ สภาวะอิฐโรย หลังการขาดแคลนอาหารเมื่อเยอรมันกำลังถึงจุดจบ

เค้ามองมือของเค้าที่เอื้อมไปคว้ามือภรรยา สิ่งที่เค้าหวังเพียงแค่เพียงพบเธอ โดยที่เค้าได้ให้เหตุผลว่ามันคือหนึ่งในเหตุผลที่เค้ายังดำรงค์อยู่ได้ แม้ความทรมานอย่างแสนสาหัส

ผมเคยอธิบายเรื่องธรรมชาติ และ โลกไปแล้วว่า มันไม่ได้ดำรงค์อยู่เพราะ Subjective of value (Anyway การให้คุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ก็เกิดจากปัจเจกเป็น subjective of value ) แต่โลกมันดำเนินไปด้วยการดำรงค์อยู่ จุดนี้ Heiddeger ใช้คำว่า Dasein มันคือปรากฏการณ์ของมนุษย์และธรรมชาติที่ต่างเคลื่อนไปพร้อมกันโดยที่มนุษย์เองก็ไม่รู้ตัว

ดังนั้น ธรรมชาติไม่สามารถเป็น Subjective value แต่เป็นทั้ง Objective ในเวลาเดียวกัน

สิ่งเหล่านี้สะท้อนเรื่องใด มันสะท้อนว่าเราไม่สามารถเอาเศรษฐศาสตร์ไปปนรวมกับเรื่องปรัชญาหรือเรื่องใดก็ตาม

พอย้อนกลับมาที่ existentialism ในมุมมองของ ทั้ง Neitzsche, Heiddeger , Frankl, Jung หรือกระทั่ง สายที่เป็น reactionary ทำไมถึงสัมพันธ์กับ Libertarians มากกว่า Post Modernism เพราะ มันมีรากเง่าของตัวปัจเจก(traditionalism) และ การให้ค่าของคุณค่าผ่านสังคมทุนนิยม มากกว่า สังคมมนุษยนิยม
Author Public Key
npub1e8e3qv6y60aktjafqe97dltk96rfjwuevnyul0kwemwcg8mz6u0qal9tp3