Hipknox on Nostr: ตำนานแหวนแห่งโซโลมอน this too shall pass ...
ตำนานแหวนแห่งโซโลมอน
this too shall pass ประโยคที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “แล้วสิ่งนี้ก็จะผ่านไปเช่นกัน“ ฟังดูผิวเผินแล้วก็อาจจะไม่ได้ดูมีความหมายที่ลึกซึ้งอะไรมากมายนัก เหมือนจะเป็นถ้อยที่เอาไว้ใช้ปลอบประโลมจิตใจเมื่อมีความทุกข์ว่าความทุกข์นี้ก็จะผ่านพ้นไป ทำไมใคร ๆ ถึงพูดกันหรือบางคนถึงกับเอาไปตั้งเป็นคติสำหรับเตือนใจประจำตัว จริง ๆ แล้วประโยคนี้มีความลึกซึ้งและมีที่มา
ที่มาที่ไปของประโยคนี้ยังมีความคลุมเครือ แต่จากตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวฮีบรูได้เล่าว่า
ในสมัยของกษัตริย์โซโลมอนผู้ปรีชาสามารถและมีความฉลาดปราดเปรื่องรอบรู้ในทุก ๆ สิ่ง ครั้งหนึ่งพระองค์เคยใช้สติปัญญาในการวินิจฉัยคดีความที่มีหญิงสองคน มาร้องทุกข์ให้พระองค์ตัดสินความว่า เด็กคนที่อยู่กับพวกนางคนนี้เป็นลูกของใคร เหตุการณ์คือหญิงทั้งสองที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ได้ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรด้วยกันทั้งคู่ แต่อยู่มาวันหนึ่งลูกของนางคนหนึ่งได้ตายไป นางคนที่สูญเสียลูกไปก็กล่าวอ้างว่าเด็กที่มีชีวิตอยู่เป็นลูกของนาง ส่วนนางคนที่เป็นแม่ที่แท้จริงก็แย้งว่าเด็กคนนี้เป็นลูกของนาง
กษัตริย์โซโลมอนที่ไม่รู้ความจริงว่านางคนไหนคือแม่ของเด็กตัวจริง ก็ได้รับสั่งให้ทำการผ่าเด็กคนนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน แล้วแบ่งให้หญิงทั้งสองที่มีปัญหากันได้ครอบครองเด็กไปอย่างละครึ่ง ผลก็ปรากฏว่าเมื่อรับสั่งดังนั้น หญิงคนหนึ่งก็ได้ฟูมฟายออกมา และกล่าวว่าอย่าได้ฆ่าเด็กคนนี้เลย พร้อมกับยอมกล่าวยกเด็กคนนั้นให้กับหญิงอีกนางหนึ่งไป ทันทีที่กษัตริย์โซโลมอนได้เห็นดังนั้น ก็รู้ได้ทันทีว่าใครที่เป็นแม่ตัวจริงของเด็ก
เข้าเรื่องตำนานของแหวนแห่งโซโลมอน
ในวันหนึ่ง พระองค์ได้ออกรับสั่งให้เหล่าอำมาตย์และเหล่านักปราชญ์ รวมถึงนักปราชญ์คนสนิทนามว่า เบเนอา ให้ทำการสร้างแหวนขึ้นวงหนึ่งสำหรับพระองค์ โดยเงื่อนไขคือแหวนวงนั้นจะต้องมีคำสลักหรือจะเป็นคาถาอะไรก็ได้ ที่เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตรไปยังแหวนวงนั้น เมื่อพระองค์กำลังมีความทุกข์จะสามารถมีความสุขได้ และเมื่อใดที่พระองค์กำลังมีความสุขเมื่อพระองค์ทอดพระเนตรไปยังแหวนแล้วพระองค์จะกลับกลายเป็นมีความทุกข์
อำมาตย์และเหล่านักปราชญ์ก็ถกเถียงกันว่า บนโลกนี้จะมีแหวนแบบนั้นได้ยังไง แหวนที่เปลี่ยนให้คนที่กำลังรู้สึกทุกข์ให้มีความสุข และเปลี่ยนคนที่กำลังมีความสุขให้มีความทุกข์ได้ในเวลาเดียวกัน
กษัตริย์โซโลมอนได้ให้เวลากับพวกเขาเป็นเวลาหกเดือน
เวลาได้กระชั้นชิดเขามา ไม่มีวี่แววว่าเหล่าอำมาตย์ นักปราชญ์ นักบวช หรือแม้แต่ตัวของ เบเนอา เองจะคิดออกว่าจะสร้างแหวนตามที่รับสั่งได้อย่างไร ยิ่งเวลาผ่านไป ตัวของ เบเนอา เองก็รู้สึกทุกข์ร้อนมากขึ้น หากว่าทำการนี้ไม่สำเร็จพระราชอาญาก็คงจะต้องตกมาถึงตัวของเขาเป็นแน่
ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่ต้องทุกข์ร้อนอยู่นาน เบเนอา ก็คิดขึ้นได้ว่าจะกังวลไปทำไมกัน ชีวิตนี้ของมนุษย์นั้นไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีอะไรที่ยั่งยืน ทุก ๆ สิ่งล้วนผ่านเขามาแล้วก็ผ่านไป ทั้งทุกข์และสุข เราจะยึดติดกับมันมากเกินไปทำไมกัน
ดังนั้น ในวันที่ถึงเวลาต้องถวายแหวนให้กับกษัตริย์โซโลมอน เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นคำสลักบนแหวนวงนั้น " גם זה יעבור " (กัม เซย์ ยาโว) - this too shall pass หรือ แล้วสิ่งนี้ก็จะผ่านไปเช่นกัน พระองค์ก็ทรงแย้มพระโอษฐ์ออกมาอย่างพอพระทัย
จริงด้วย คำสลักนี้เป็นจริง เมื่อใดก็ตามที่เรากำลังมีความสุขกับราชสมบัติ กับสติปัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้กับเรา เมื่อเราได้มองไปยังคำสลักที่แหวนวงนี้เราก็จะกลายเป็นทุกข์ เพราะทุก ๆ สิ่งที่เรามี ความสุข สมบัติ ปัญญา ในวันหนึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะอันตรธานหายไป และเมื่อใดที่เรากำลังรู้สึกทุกข์เมื่อได้มองไปที่คำสลักบนแหวนวงนี้ เราก็จะรู้ได้ว่าความทุกข์ใด ๆ ก็ล้วนผ่านพ้นไปเช่นกัน
และเหมือนจะตรงกันกับคำว่า “อนิจจัง“ ในภาษาบาลี (อนิจฺจํ) ที่แปลว่า “ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน” ที่ทั้งความทุกข์และสุขล้วนไม่มีความจีรังยั่งยืน
เราอาจจะใช้ประโยค ๆ นี้เพื่อเตือนสติตัวเองในเวลาที่กำลังมีความสุขมากเกินไปให้หันไปมองความเป็นจริงที่ว่าสุขนี้ก็จะผ่านไป และเตือนสติตัวเองในเวลาที่กำลังเป็นทุกข์ให้หันไปมองความเป็นจริงที่ว่าแล้วทุกข์นี้ก็จะผ่านไปเช่นกัน
גם זה יעבור
This Too Shall Pass
แล้วสิ่งนี้จะผ่านไปเช่นกัน
ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน สำหรับการเริ่มต้นปีใหม่อีกหนึ่งปี ขอให้เป็นปีที่ดี.. :)
#Siamstr
this too shall pass ประโยคที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “แล้วสิ่งนี้ก็จะผ่านไปเช่นกัน“ ฟังดูผิวเผินแล้วก็อาจจะไม่ได้ดูมีความหมายที่ลึกซึ้งอะไรมากมายนัก เหมือนจะเป็นถ้อยที่เอาไว้ใช้ปลอบประโลมจิตใจเมื่อมีความทุกข์ว่าความทุกข์นี้ก็จะผ่านพ้นไป ทำไมใคร ๆ ถึงพูดกันหรือบางคนถึงกับเอาไปตั้งเป็นคติสำหรับเตือนใจประจำตัว จริง ๆ แล้วประโยคนี้มีความลึกซึ้งและมีที่มา
ที่มาที่ไปของประโยคนี้ยังมีความคลุมเครือ แต่จากตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวฮีบรูได้เล่าว่า
ในสมัยของกษัตริย์โซโลมอนผู้ปรีชาสามารถและมีความฉลาดปราดเปรื่องรอบรู้ในทุก ๆ สิ่ง ครั้งหนึ่งพระองค์เคยใช้สติปัญญาในการวินิจฉัยคดีความที่มีหญิงสองคน มาร้องทุกข์ให้พระองค์ตัดสินความว่า เด็กคนที่อยู่กับพวกนางคนนี้เป็นลูกของใคร เหตุการณ์คือหญิงทั้งสองที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ได้ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรด้วยกันทั้งคู่ แต่อยู่มาวันหนึ่งลูกของนางคนหนึ่งได้ตายไป นางคนที่สูญเสียลูกไปก็กล่าวอ้างว่าเด็กที่มีชีวิตอยู่เป็นลูกของนาง ส่วนนางคนที่เป็นแม่ที่แท้จริงก็แย้งว่าเด็กคนนี้เป็นลูกของนาง
กษัตริย์โซโลมอนที่ไม่รู้ความจริงว่านางคนไหนคือแม่ของเด็กตัวจริง ก็ได้รับสั่งให้ทำการผ่าเด็กคนนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน แล้วแบ่งให้หญิงทั้งสองที่มีปัญหากันได้ครอบครองเด็กไปอย่างละครึ่ง ผลก็ปรากฏว่าเมื่อรับสั่งดังนั้น หญิงคนหนึ่งก็ได้ฟูมฟายออกมา และกล่าวว่าอย่าได้ฆ่าเด็กคนนี้เลย พร้อมกับยอมกล่าวยกเด็กคนนั้นให้กับหญิงอีกนางหนึ่งไป ทันทีที่กษัตริย์โซโลมอนได้เห็นดังนั้น ก็รู้ได้ทันทีว่าใครที่เป็นแม่ตัวจริงของเด็ก
เข้าเรื่องตำนานของแหวนแห่งโซโลมอน
ในวันหนึ่ง พระองค์ได้ออกรับสั่งให้เหล่าอำมาตย์และเหล่านักปราชญ์ รวมถึงนักปราชญ์คนสนิทนามว่า เบเนอา ให้ทำการสร้างแหวนขึ้นวงหนึ่งสำหรับพระองค์ โดยเงื่อนไขคือแหวนวงนั้นจะต้องมีคำสลักหรือจะเป็นคาถาอะไรก็ได้ ที่เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตรไปยังแหวนวงนั้น เมื่อพระองค์กำลังมีความทุกข์จะสามารถมีความสุขได้ และเมื่อใดที่พระองค์กำลังมีความสุขเมื่อพระองค์ทอดพระเนตรไปยังแหวนแล้วพระองค์จะกลับกลายเป็นมีความทุกข์
อำมาตย์และเหล่านักปราชญ์ก็ถกเถียงกันว่า บนโลกนี้จะมีแหวนแบบนั้นได้ยังไง แหวนที่เปลี่ยนให้คนที่กำลังรู้สึกทุกข์ให้มีความสุข และเปลี่ยนคนที่กำลังมีความสุขให้มีความทุกข์ได้ในเวลาเดียวกัน
กษัตริย์โซโลมอนได้ให้เวลากับพวกเขาเป็นเวลาหกเดือน
เวลาได้กระชั้นชิดเขามา ไม่มีวี่แววว่าเหล่าอำมาตย์ นักปราชญ์ นักบวช หรือแม้แต่ตัวของ เบเนอา เองจะคิดออกว่าจะสร้างแหวนตามที่รับสั่งได้อย่างไร ยิ่งเวลาผ่านไป ตัวของ เบเนอา เองก็รู้สึกทุกข์ร้อนมากขึ้น หากว่าทำการนี้ไม่สำเร็จพระราชอาญาก็คงจะต้องตกมาถึงตัวของเขาเป็นแน่
ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่ต้องทุกข์ร้อนอยู่นาน เบเนอา ก็คิดขึ้นได้ว่าจะกังวลไปทำไมกัน ชีวิตนี้ของมนุษย์นั้นไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีอะไรที่ยั่งยืน ทุก ๆ สิ่งล้วนผ่านเขามาแล้วก็ผ่านไป ทั้งทุกข์และสุข เราจะยึดติดกับมันมากเกินไปทำไมกัน
ดังนั้น ในวันที่ถึงเวลาต้องถวายแหวนให้กับกษัตริย์โซโลมอน เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นคำสลักบนแหวนวงนั้น " גם זה יעבור " (กัม เซย์ ยาโว) - this too shall pass หรือ แล้วสิ่งนี้ก็จะผ่านไปเช่นกัน พระองค์ก็ทรงแย้มพระโอษฐ์ออกมาอย่างพอพระทัย
จริงด้วย คำสลักนี้เป็นจริง เมื่อใดก็ตามที่เรากำลังมีความสุขกับราชสมบัติ กับสติปัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้กับเรา เมื่อเราได้มองไปยังคำสลักที่แหวนวงนี้เราก็จะกลายเป็นทุกข์ เพราะทุก ๆ สิ่งที่เรามี ความสุข สมบัติ ปัญญา ในวันหนึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะอันตรธานหายไป และเมื่อใดที่เรากำลังรู้สึกทุกข์เมื่อได้มองไปที่คำสลักบนแหวนวงนี้ เราก็จะรู้ได้ว่าความทุกข์ใด ๆ ก็ล้วนผ่านพ้นไปเช่นกัน
และเหมือนจะตรงกันกับคำว่า “อนิจจัง“ ในภาษาบาลี (อนิจฺจํ) ที่แปลว่า “ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน” ที่ทั้งความทุกข์และสุขล้วนไม่มีความจีรังยั่งยืน
เราอาจจะใช้ประโยค ๆ นี้เพื่อเตือนสติตัวเองในเวลาที่กำลังมีความสุขมากเกินไปให้หันไปมองความเป็นจริงที่ว่าสุขนี้ก็จะผ่านไป และเตือนสติตัวเองในเวลาที่กำลังเป็นทุกข์ให้หันไปมองความเป็นจริงที่ว่าแล้วทุกข์นี้ก็จะผ่านไปเช่นกัน
גם זה יעבור
This Too Shall Pass
แล้วสิ่งนี้จะผ่านไปเช่นกัน
ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน สำหรับการเริ่มต้นปีใหม่อีกหนึ่งปี ขอให้เป็นปีที่ดี.. :)
#Siamstr