Somnuke on Nostr: ...
ตัวการใหญ่ที่ทำให้เงินในกระเป๋าประชาชนเสื่อมค่า (เงินเฟ้อ) คือ ระบบการธนาคารสมัยใหม่
ในวันนี้การกู้ เขาไม่ได้หอบเงินฝากของใครซักคน หรือรวบรวมจากหลายๆ คนมาให้เรา แต่เขาแค่เคาะตัวเลขในบัญชี 2-3 ที โดยแทบไม่มีต้นทุน
ภายใต้ระบบการธนาคารที่เรียกว่า fractional reserve banking หรือการอนุญาตให้ธนาคารสำรองสินทรัพย์แค่บางส่วน (กฎหมายให้สำรองเงินฝากแค่ 1% แต่ธนาคารไทยสำรองที่เฉลี่ย 12% ถือว่าเซฟกว่าประเทศอื่น) มันมอบความสามารถในการ leverage หรือเสกเงินปล่อยกู้มากกว่าเงินจริงๆ ที่ตัวเองมี (เพดาน max. ที่ 99 เท่า)
ยกตัวอย่างเช่น นายตั๊มขายบ้าน 3 ล้าน นายโสพรสนใจจึงไปยื่นกู้ ธนาคารก็เคาะเงิน 3 ล้านมาให้ดื้อๆ (ประเมินนิดนึงมีปัญญาจ่ายมั้ย ถ้าไม่มีเชิญไปหาสมบัติมาค้ำ) นายโสพรหอบเงินไปให้นายตั๊มและเอาบ้านไป นายตั๊มก็นำเงินหอบกลับไปให้ธนาคารสมนึกพาณิชย์ที่ตัวเองถือบัญชี
เงิน 3 ล้านที่เคาะมาจากอากาศมันไม่มีตัวตนจริงๆ ได้ถือเป็นสินทรัพย์ของแบงก์สมนึกพาณิชย์แล้ว และมันสามารถถูกใช้เป็นฐานในการปล่อยกู้ต่อไป เงินกู้ที่เสกขึ้นทับถมกันไปกันมา รู้ตัวอีกทีปริมาณเงินในระบบก็มีมากมายมหาศาลกว่า "สินทรัพย์ที่มีจริงๆ" ไปหลายเท่าตัว
ปัญหาใหญ่ของระบบนี้ มันทำให้มีคนบางกลุ่มซึ่งร่ำรวยสุดๆ สามารถเข้าถึงเงินผลิตใหม่ได้ก่อนคนอื่น ในต้นทุนที่ถูกกว่ามาก เข้าถึงเงินได้ก่อนก็ไปกว้านซื้อสากกะเบือยันเรือรบได้ก่อน บางคนสามารถกู้ระดับแสนล้านได้ง่ายๆ ในต้นทุนดอกเบี้ยแค่ 1-3% บริษัทยุคใหม่ขับเคลื่อนด้วยหนี้ และการเป็นหนี้มันได้รับการยกเว้นภาษี
แล้วยังใช้สินทรัพย์ที่ได้มาจากหนี้ เช่น หุ้น อสังหา ตราสารหนี้ เอาไปค้ำเพื่อกู้เงินออกมาเพิ่มได้อีก หรือแตกบริษัทลูกแล้วเอาเงินที่บริษัทแม่กู้มาไปเป็นทุน บริษัทลูกก็สามารถเอาทุนจากหนี้ไปวางค้ำประกันเพื่อกู้เงินเพิ่มได้เช่นกัน ส่วนคนธรรมดานอกจากจะกู้ยากเหมือนเดิม ต้นทุนดอกเบี้ยที่ได้ก็แพงกว่ามากมายหลายเท่า
ณ วันนี้ แค่ประชาชนไปแห่ถอนเงินออกซัก 10-20% สมนึกพาณิชย์รวมถึงทุกๆ เจ้า ก็พร้อมที่จะ bank run ทันที
ถ้าเราเข้าใจกระบวนการนี้ เราก็จะเริ่มเข้าใจว่า ทำไมดอกเบี้ยเงินฝากมันถึงน้อยน่าเกลียด
ก็เพราะเงินฝากเรามันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น เขาจะแข่งกันให้ดอกเบี้ยสูงๆ เพื่อแย่งเงินฝากเหมือนในอดีตไปทำไม
ในเมื่อเขา "เสกเงิน" ได้
แถมยังมีท่าไม้ตายที่สามารถขอวงเงินจากธนาคารกลางได้หากธุรกิจมีปัญหา หรือเข้าตาจนจริงๆ ก็ให้คนดีย์เอาภาษีมาอุ้มได้...ไม่ช่วยเราก็ได้แต่เงินฝากประชาชนหายหมดนะ
นี่แค่ภาพเล็กในประเทศ สิ่งสำคัญคือ ไม่ว่าจะรัฐกู้ เอกชนกู้ ประชาชนกู้ ทุกการเพิ่มหนี้ล้วนเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ และหากมันมากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ เงินในกระเป๋าทุกคนจะด้อยค่าลง
เงินจะมีมูลค่าเท่าเดิม ถ้าอย่างน้อยการเติบโตของปริมาณเงินและเศรษฐกิจมันเท่ากัน แต่หลายสิบปีที่ผ่านมา ปริมาณเงินเพิ่ม 6+% แล้วเศรษฐกิจมีกี่ปีที่โตเกิน 6%..?
เงินคือตัวสะท้อน productivity ของประเทศ และ productivity มันเสกไม่ได้ อยากได้เพิ่มเราจะต้องทำงาน ต้องค้าขายดึงความมั่งคั่งจากต่างชาติเข้ามา
กิจการที่ชื่อว่าประเทศ สมมติมีมูลค่า 1ล้าน จะแบ่งเงินเป็นกี่ล้านหน่วยก็ช่าง สุดท้ายมูลค่ารวมก็เท่าเดิมที่ 1ล้านอยู่ดี ยิ่งผลิตเงินเพิ่มมากเท่าไร เงินต่อหน่วยก็จะยิ่งเสื่อมค่า เงินเสื่อมค่ามากเท่าไร ชีวิตเราก็ยากขึ้นตามนั้น
ดังนั้น อย่าแปลกใจที่ขยันก็แล้ว ประหยัดก็แล้ว แค่สร้างเนื้อสร้างตัวไม่ได้ซักที เพราะในยุคนี้มันคือเรื่องปกติ
#Siamstr
ในวันนี้การกู้ เขาไม่ได้หอบเงินฝากของใครซักคน หรือรวบรวมจากหลายๆ คนมาให้เรา แต่เขาแค่เคาะตัวเลขในบัญชี 2-3 ที โดยแทบไม่มีต้นทุน
ภายใต้ระบบการธนาคารที่เรียกว่า fractional reserve banking หรือการอนุญาตให้ธนาคารสำรองสินทรัพย์แค่บางส่วน (กฎหมายให้สำรองเงินฝากแค่ 1% แต่ธนาคารไทยสำรองที่เฉลี่ย 12% ถือว่าเซฟกว่าประเทศอื่น) มันมอบความสามารถในการ leverage หรือเสกเงินปล่อยกู้มากกว่าเงินจริงๆ ที่ตัวเองมี (เพดาน max. ที่ 99 เท่า)
ยกตัวอย่างเช่น นายตั๊มขายบ้าน 3 ล้าน นายโสพรสนใจจึงไปยื่นกู้ ธนาคารก็เคาะเงิน 3 ล้านมาให้ดื้อๆ (ประเมินนิดนึงมีปัญญาจ่ายมั้ย ถ้าไม่มีเชิญไปหาสมบัติมาค้ำ) นายโสพรหอบเงินไปให้นายตั๊มและเอาบ้านไป นายตั๊มก็นำเงินหอบกลับไปให้ธนาคารสมนึกพาณิชย์ที่ตัวเองถือบัญชี
เงิน 3 ล้านที่เคาะมาจากอากาศมันไม่มีตัวตนจริงๆ ได้ถือเป็นสินทรัพย์ของแบงก์สมนึกพาณิชย์แล้ว และมันสามารถถูกใช้เป็นฐานในการปล่อยกู้ต่อไป เงินกู้ที่เสกขึ้นทับถมกันไปกันมา รู้ตัวอีกทีปริมาณเงินในระบบก็มีมากมายมหาศาลกว่า "สินทรัพย์ที่มีจริงๆ" ไปหลายเท่าตัว
ปัญหาใหญ่ของระบบนี้ มันทำให้มีคนบางกลุ่มซึ่งร่ำรวยสุดๆ สามารถเข้าถึงเงินผลิตใหม่ได้ก่อนคนอื่น ในต้นทุนที่ถูกกว่ามาก เข้าถึงเงินได้ก่อนก็ไปกว้านซื้อสากกะเบือยันเรือรบได้ก่อน บางคนสามารถกู้ระดับแสนล้านได้ง่ายๆ ในต้นทุนดอกเบี้ยแค่ 1-3% บริษัทยุคใหม่ขับเคลื่อนด้วยหนี้ และการเป็นหนี้มันได้รับการยกเว้นภาษี
แล้วยังใช้สินทรัพย์ที่ได้มาจากหนี้ เช่น หุ้น อสังหา ตราสารหนี้ เอาไปค้ำเพื่อกู้เงินออกมาเพิ่มได้อีก หรือแตกบริษัทลูกแล้วเอาเงินที่บริษัทแม่กู้มาไปเป็นทุน บริษัทลูกก็สามารถเอาทุนจากหนี้ไปวางค้ำประกันเพื่อกู้เงินเพิ่มได้เช่นกัน ส่วนคนธรรมดานอกจากจะกู้ยากเหมือนเดิม ต้นทุนดอกเบี้ยที่ได้ก็แพงกว่ามากมายหลายเท่า
ณ วันนี้ แค่ประชาชนไปแห่ถอนเงินออกซัก 10-20% สมนึกพาณิชย์รวมถึงทุกๆ เจ้า ก็พร้อมที่จะ bank run ทันที
ถ้าเราเข้าใจกระบวนการนี้ เราก็จะเริ่มเข้าใจว่า ทำไมดอกเบี้ยเงินฝากมันถึงน้อยน่าเกลียด
ก็เพราะเงินฝากเรามันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น เขาจะแข่งกันให้ดอกเบี้ยสูงๆ เพื่อแย่งเงินฝากเหมือนในอดีตไปทำไม
ในเมื่อเขา "เสกเงิน" ได้
แถมยังมีท่าไม้ตายที่สามารถขอวงเงินจากธนาคารกลางได้หากธุรกิจมีปัญหา หรือเข้าตาจนจริงๆ ก็ให้คนดีย์เอาภาษีมาอุ้มได้...ไม่ช่วยเราก็ได้แต่เงินฝากประชาชนหายหมดนะ
นี่แค่ภาพเล็กในประเทศ สิ่งสำคัญคือ ไม่ว่าจะรัฐกู้ เอกชนกู้ ประชาชนกู้ ทุกการเพิ่มหนี้ล้วนเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ และหากมันมากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ เงินในกระเป๋าทุกคนจะด้อยค่าลง
เงินจะมีมูลค่าเท่าเดิม ถ้าอย่างน้อยการเติบโตของปริมาณเงินและเศรษฐกิจมันเท่ากัน แต่หลายสิบปีที่ผ่านมา ปริมาณเงินเพิ่ม 6+% แล้วเศรษฐกิจมีกี่ปีที่โตเกิน 6%..?
เงินคือตัวสะท้อน productivity ของประเทศ และ productivity มันเสกไม่ได้ อยากได้เพิ่มเราจะต้องทำงาน ต้องค้าขายดึงความมั่งคั่งจากต่างชาติเข้ามา
กิจการที่ชื่อว่าประเทศ สมมติมีมูลค่า 1ล้าน จะแบ่งเงินเป็นกี่ล้านหน่วยก็ช่าง สุดท้ายมูลค่ารวมก็เท่าเดิมที่ 1ล้านอยู่ดี ยิ่งผลิตเงินเพิ่มมากเท่าไร เงินต่อหน่วยก็จะยิ่งเสื่อมค่า เงินเสื่อมค่ามากเท่าไร ชีวิตเราก็ยากขึ้นตามนั้น
ดังนั้น อย่าแปลกใจที่ขยันก็แล้ว ประหยัดก็แล้ว แค่สร้างเนื้อสร้างตัวไม่ได้ซักที เพราะในยุคนี้มันคือเรื่องปกติ
#Siamstr