JohnnyJun on Nostr: จากมุมผู้เรียนแบบผม ผมมองว่า ...
จากมุมผู้เรียนแบบผม ผมมองว่า ต่อไป มหาลัย อาจจะต้องเป็น Personalized มากขึ้นจริงๆ หรือไม่ก็เป็นเพียงที่ฝึกวิชาภาคปฏิบัติ เช่น คลินิก แลป และงานวิจัยที่ต้องใช้แลปเพียงเท่านั้น
ผมเรียน ป ตรี ที่ไทย ป โท ที่ไทย แล้วผมเทียบกับ mooc เช่น coursera, edx, udemy แล้วส่วนตัวผม การเรียนแบบเลคเช่อ ในคลาสที่มหาลัย สู้การเรียนออนไลน์ไม่ได้เลย เหตุผลก็คือ ในคอร์สออนไลน์ เราสามารถเลือกเรียนคอร์สจากมหาลัย/คนสอนคนไหนก็ได้ ที่ถูกจริตกับเรา เป็นการ mix and match ตามที่เราต้องการ ไม่ใช่ว่าคนสอนในมหาลัยสอนไม่ดีไปซะหมด แต่แบบออนไลน์เราเลือกเฉพาะคนที่เราคิดว่าสอนดีได้ด้วยตัวเราเอง
ส่วนเรื่องที่คอร์สออนไลน์ดูจะเสียเปรียบก็คือ ถ้าเราไม่มี goal ของตัวเอง (ซึ่งส่วนใหญ่กว่าจะรู้ก็ต้องทำงานมาสักพัก) เราอาจจะเคว้างได้ เพราะไม่มีใครคอยไกด์ ว่าแบบไหนคือดี แบบไหนคือสิ่งที่จะได้ใช้ ควรจะรู้เรื่องอะไร? คนที่อยากรู้แค่เฉพาะเรื่องก็สามารถเลือกคอร์สที่ practical มากๆ ในเลือกสั้นๆ อย่างเช่นใน udemy ได้
ตอนนี้ผมมาเรียนต่อโท ในมหาลัยระดับท้อป10 ของโลก ก็ยังยืนยันคำเดิมอยู่ดี ว่าถ้าเป็นเรื่อง เลคเช่อ ยังไงก็สู้ความยืดหยุ่นและหลากหลายของคอร์สออนไลน์ไม่ได้เลย
สุดท้ายผมเห็นด้วยว่าเป็นช่วงเวลาที่มหาลัยน่าจะต้องปรับตัว อาจจะถึงขั้นปรับ position ของตัวเองใหม่เลย มหาลัยจะกลายเป็นสถานที่เพื่อการฝึกปฏิบัติและวิจัย? มหาลัยจะกลายเป็นคนไกด์เพียงว่านักศึกษาควรจะรู้เรื่องใดบ้าง? แต่ปัจจัยวำคัญอีกอันที่ทำให้มหาลัยยังอยู่ได้ก็คงจะเป็นเรื่องความเชื่อถือในกระดาษรับรองวุฒิที่ได้รับและชื่อเสียงมหาลัย ส่วนเรื่องสังคมผมมองว่าเดี๋ยวก็คงเกิดวิธีการใหม่ๆในการรวมกลุ่มกันจนเป็นที่ให้เด็กปรับตัวจากวัยรุ่นเป็นวัยผู้ใหญ่เกิดขึ้นอยู่ดี
และท้ายที่สุดในเรื่องการลงทุน ผมเคยมองว่าที่ดินรอบๆมหาลัย sexy มากๆ (ผมอยุ่หัวเมืองต่างจังหวะที่ดินราคายังพอสู้ได้) แต่ตอนนี้ผมความคิดเปลี่ยนไปเลย ผมไม่แน่ใจว่าธุรกิจหอพักที่เพิ่งสร้างและสร้างด้วยเงินกู้ จะสามารถอยู่ได้จนผ่อนงวดสุดท้ายหมดหรือเปล่า
#siamstr
ผมเรียน ป ตรี ที่ไทย ป โท ที่ไทย แล้วผมเทียบกับ mooc เช่น coursera, edx, udemy แล้วส่วนตัวผม การเรียนแบบเลคเช่อ ในคลาสที่มหาลัย สู้การเรียนออนไลน์ไม่ได้เลย เหตุผลก็คือ ในคอร์สออนไลน์ เราสามารถเลือกเรียนคอร์สจากมหาลัย/คนสอนคนไหนก็ได้ ที่ถูกจริตกับเรา เป็นการ mix and match ตามที่เราต้องการ ไม่ใช่ว่าคนสอนในมหาลัยสอนไม่ดีไปซะหมด แต่แบบออนไลน์เราเลือกเฉพาะคนที่เราคิดว่าสอนดีได้ด้วยตัวเราเอง
ส่วนเรื่องที่คอร์สออนไลน์ดูจะเสียเปรียบก็คือ ถ้าเราไม่มี goal ของตัวเอง (ซึ่งส่วนใหญ่กว่าจะรู้ก็ต้องทำงานมาสักพัก) เราอาจจะเคว้างได้ เพราะไม่มีใครคอยไกด์ ว่าแบบไหนคือดี แบบไหนคือสิ่งที่จะได้ใช้ ควรจะรู้เรื่องอะไร? คนที่อยากรู้แค่เฉพาะเรื่องก็สามารถเลือกคอร์สที่ practical มากๆ ในเลือกสั้นๆ อย่างเช่นใน udemy ได้
ตอนนี้ผมมาเรียนต่อโท ในมหาลัยระดับท้อป10 ของโลก ก็ยังยืนยันคำเดิมอยู่ดี ว่าถ้าเป็นเรื่อง เลคเช่อ ยังไงก็สู้ความยืดหยุ่นและหลากหลายของคอร์สออนไลน์ไม่ได้เลย
สุดท้ายผมเห็นด้วยว่าเป็นช่วงเวลาที่มหาลัยน่าจะต้องปรับตัว อาจจะถึงขั้นปรับ position ของตัวเองใหม่เลย มหาลัยจะกลายเป็นสถานที่เพื่อการฝึกปฏิบัติและวิจัย? มหาลัยจะกลายเป็นคนไกด์เพียงว่านักศึกษาควรจะรู้เรื่องใดบ้าง? แต่ปัจจัยวำคัญอีกอันที่ทำให้มหาลัยยังอยู่ได้ก็คงจะเป็นเรื่องความเชื่อถือในกระดาษรับรองวุฒิที่ได้รับและชื่อเสียงมหาลัย ส่วนเรื่องสังคมผมมองว่าเดี๋ยวก็คงเกิดวิธีการใหม่ๆในการรวมกลุ่มกันจนเป็นที่ให้เด็กปรับตัวจากวัยรุ่นเป็นวัยผู้ใหญ่เกิดขึ้นอยู่ดี
และท้ายที่สุดในเรื่องการลงทุน ผมเคยมองว่าที่ดินรอบๆมหาลัย sexy มากๆ (ผมอยุ่หัวเมืองต่างจังหวะที่ดินราคายังพอสู้ได้) แต่ตอนนี้ผมความคิดเปลี่ยนไปเลย ผมไม่แน่ใจว่าธุรกิจหอพักที่เพิ่งสร้างและสร้างด้วยเงินกู้ จะสามารถอยู่ได้จนผ่อนงวดสุดท้ายหมดหรือเปล่า
#siamstr