Right Shift on Nostr: ⚠️ ...
⚠️ ยุ่งเกี่ยวกับบิตคอยน์ต้องเสียภาษีแบบไหนบ้าง? มาอัปเดตความรู้บิตคอยน์และภาษีกันหน่อย
.
[[[บทความนี้ครอบคลุมเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น]]
ประชาชนชาวไทยทุกคน เมื่อมีเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
.
โดยที่นิยามของ ‘เงินได้พึงประเมิน’ ตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 39 ไม่ได้มีความหมายแค่เฉพาะที่ได้รับในรูปแบบ ‘เงิน’ (ที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย) เท่านั้น แต่ยังรวมถึง ‘ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน’ ซึ่งนั่นก็หมายรวมถึงบิตคอยน์และสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่น ๆ ด้วย
.
หากคุณคุ้นเคยกับการคิดคำนวณและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติอยู่แล้ว เงินได้ที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในรูปแบบของบิตคอยน์ก็ไม่ต่างอะไรกัน (และหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเกณฑ์เดียวกัน)
.
การยื่นภาษีก็ตีมูลค่าเป็นหน่วยเงินบาท เอามามารวมกับเงินได้ประเภทเดียวกันที่อยู่ในรูปเงินบาทแล้วยื่นทีเดียว ไม่ต้องจำแนกว่าส่วนไหนรับเงินได้มาในรูปแบบใด
.
ความท้าทายของการยื่นภาษีเงินได้จากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบิตคอยน์ก็เพียงแค่ต้องระบุให้ถูกต้องว่าเงินได้นั้นจัดเป็นเงินได้ประเภทไหน เพื่อที่จะสามารถนำไปคิดคำนวณภาษีต่อได้อย่างถูกต้อง
.
.
.
และต่อไปนี้คือกิจกรรมบางประเภทที่บิตคอยเนอร์ หรือนักลงทุนบิตคอยน์อาจประสบพบเจอ
.
1. การทำเหมืองขุดบิตคอยน์: ธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์ นับว่ามีลักษณะเช่นเดียวกับธุรกิจที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย ในตอนที่ได้รับบิตคอยน์มาก็เสมือนกับการผลิตสินค้าสำเร็จและเก็บไว้ จะยังไม่มีเงินได้เกิดขึ้นจนกว่าจะขายบิตคอยน์นั้นหรือนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งอื่น จัดว่าเป็นเงินได้จากการทำธุรกิจตามมาตรา 40(8) ให้นำยอดขายบิตคอยน์ทั้งหมดเป็นมูลค่าเงินบาทมาคำนวณ
.
2. การได้รับบิตคอยน์เป็นรางวัล ได้รับบริจาค หรือแอร์ดรอป: เนื่องจากเป็นเงินได้ประเภทอื่นซึ่งไม่ได้มีระบุไว้ในประเภท 1-7 จึงจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ให้นำมูลค่าบิตคอยน์ที่ได้รับในหน่วยเงินบาทมาคำนวณ
.
3. การได้รับบิตคอยน์จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว: จัดว่าเป็นเงินได้จากการทำธุรกิจตามมาตรา 40(8) ให้นำยอดขายในหน่วยเงินบาทมาคำนวณ
.
4. การได้รับบิตคอยน์เป็นเงินเดือน หรือค่าจ้าง: หากเป็นเงินเดือนจะจัดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) และหากเป็นค่าจ้างจะจัดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ให้นำมูลค่าบิตคอยน์ที่ได้รับในหน่วยเงินบาทมาคำนวณ
.
5. การได้กำไรจากส่วนต่างราคาจากการขายบิตคอยน์ (capital gain): จัดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) ให้นำมูลค่าเฉพาะส่วนกำไร (ราคาขาย-ต้นทุน) มาคำนวณ
เงินได้ประเภทนี้เกิดขึ้นทันทีที่เกิดการซื้อขายสำเร็จ หมายความว่าเงินได้ประเภทนี้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อทำการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเหรียญสำเร็จ แม้จะยังไม่ได้ถอนเงินหรือสินทรัพย์ออกมาจาก Exchange ก็ตาม
โดยที่หากซื้อขายใน Exchange ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ จาก ก.ล.ต. จะสามารถนำผลขาดทุนรวมในปีภาษีนั้นมาหักลบออกจากผลกำไรรวมในปีภาษีนั้นได้ แล้วนำเฉพาะผลกำไรส่วนต่างที่ยังเหลืออยู่มาคำนวณ (หากผลขาดทุนรวมมากกว่าผลกำไรรวม ถือว่าปีนั้นไม่เกิดเงินได้ตามมาตรานี้) ผลขาดทุนสามารถนำมาหักได้ปีต่อปี ไม่สามารถยกยอดสะสมข้ามไปใช้ในปีถัดไปได้
กรณีที่ได้รับบิตคอยน์มาด้วยวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การซื้อ ให้ใช้มูลค่าของบิตคอยน์ในตอนที่ได้รับมานั้น (ซึ่งได้นำไปคำนวณภาษีเงินได้ในประเภทนั้นๆ แล้ว) เป็นต้นทุนในการคำนวณผลกำไรตามมาตรานี้ เช่น
- หากได้รับเงินเดือนเป็นบิตคอยน์ และได้นำมูลค่าของเงินเดือนไปยื่นภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(1) แล้ว ให้ถือว่าบิตคอยน์นั้นมีต้นทุนเท่ากับมูลค่าเงินเดือน
- หากได้รับเงินบริจาคเป็นบิตคอยน์ และได้นำมูลค่าของเงินบริจาคไปยื่นภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) แล้ว ให้ถือว่าบิตคอยน์นั้นมีต้นทุนเท่ากับมูลค่าเงินบริจาค
ในกรณีที่ได้รับบิตคอยน์มาหลายครั้ง ต่างเวลา ต่างต้นทุนกัน กฎหมายอนุญาตให้เลือกคำนวณต้นทุนได้ 2 วิธี ระหว่างวิธีเข้าก่อนออกก่อน (First In - First Out) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) จะใช้วิธีใดก็ได้แต่ว่าต้องใช้วิธีเดียวกันกับการคำนวณเงินได้ของสินทรัพย์ดิจิทัลทุกชนิดในปีภาษีนั้น จะใช้หลายวิธีกับสินทรัพย์แต่ละชนิดไม่ได้ (ปีภาษีถัดไปสามารถเปลี่ยนวิธีได้)
.
6. การนำบิตคอยน์ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้า บริการ หรือแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่น: หากว่ามูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นในหน่วยเงินบาท มากกว่าต้นทุนตอนที่ได้บิตคอยน์นั้นมา ให้ถือว่ามีกำไรจากส่วนต่างราคาตามมาตรา 40(4)(ฌ) เช่นเดียวกับในข้อที่แล้ว
ยกตัวอย่างเช่น หากนำบิตคอยน์ไปแลกเปลี่ยนเป็นโทรศัพท์มูลค่า 15,000 บาท โดยที่บิตคอยน์นั้นมีต้นทุน 10,000 บาท ก็จะถือว่าต้องนำมูลค่าส่วนต่าง 5,000 บาทมาคำนวณ
.
.
.
การวัดมูลค่าของบิตคอยน์หรือสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่น ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. เป็นต้น
.
สำหรับการยื่นภาษีด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องแนบหลักฐานใดๆ แต่ว่าหากเจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาว่าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถเรียกให้เราต้องแสดงหลักฐานเพิ่มได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรเก็บหลักฐานและทำบัญชีธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ให้ครบถ้วน และคำนวณให้ถูกต้องด้วย
.
อาจารย์ขิง รายงาน T21 (nprofile…32rj)
#siamstr
—
อ้างอิง
คู่มือคำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/newsbanner/2022/03/Instructions_for_paying_personal_income_tax.pdf
ประมวลรัษฎากร
https://www.rd.go.th/5937.html#mata39
กฎกระทรวงฉบับที่ 380 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/T_0001.PDF
.
[[[บทความนี้ครอบคลุมเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น]]

ประชาชนชาวไทยทุกคน เมื่อมีเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
.
โดยที่นิยามของ ‘เงินได้พึงประเมิน’ ตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 39 ไม่ได้มีความหมายแค่เฉพาะที่ได้รับในรูปแบบ ‘เงิน’ (ที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย) เท่านั้น แต่ยังรวมถึง ‘ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน’ ซึ่งนั่นก็หมายรวมถึงบิตคอยน์และสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่น ๆ ด้วย
.
หากคุณคุ้นเคยกับการคิดคำนวณและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติอยู่แล้ว เงินได้ที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในรูปแบบของบิตคอยน์ก็ไม่ต่างอะไรกัน (และหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเกณฑ์เดียวกัน)
.
การยื่นภาษีก็ตีมูลค่าเป็นหน่วยเงินบาท เอามามารวมกับเงินได้ประเภทเดียวกันที่อยู่ในรูปเงินบาทแล้วยื่นทีเดียว ไม่ต้องจำแนกว่าส่วนไหนรับเงินได้มาในรูปแบบใด
.
ความท้าทายของการยื่นภาษีเงินได้จากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบิตคอยน์ก็เพียงแค่ต้องระบุให้ถูกต้องว่าเงินได้นั้นจัดเป็นเงินได้ประเภทไหน เพื่อที่จะสามารถนำไปคิดคำนวณภาษีต่อได้อย่างถูกต้อง
.
.
.
และต่อไปนี้คือกิจกรรมบางประเภทที่บิตคอยเนอร์ หรือนักลงทุนบิตคอยน์อาจประสบพบเจอ
.
1. การทำเหมืองขุดบิตคอยน์: ธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์ นับว่ามีลักษณะเช่นเดียวกับธุรกิจที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย ในตอนที่ได้รับบิตคอยน์มาก็เสมือนกับการผลิตสินค้าสำเร็จและเก็บไว้ จะยังไม่มีเงินได้เกิดขึ้นจนกว่าจะขายบิตคอยน์นั้นหรือนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งอื่น จัดว่าเป็นเงินได้จากการทำธุรกิจตามมาตรา 40(8) ให้นำยอดขายบิตคอยน์ทั้งหมดเป็นมูลค่าเงินบาทมาคำนวณ
.
2. การได้รับบิตคอยน์เป็นรางวัล ได้รับบริจาค หรือแอร์ดรอป: เนื่องจากเป็นเงินได้ประเภทอื่นซึ่งไม่ได้มีระบุไว้ในประเภท 1-7 จึงจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ให้นำมูลค่าบิตคอยน์ที่ได้รับในหน่วยเงินบาทมาคำนวณ
.
3. การได้รับบิตคอยน์จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว: จัดว่าเป็นเงินได้จากการทำธุรกิจตามมาตรา 40(8) ให้นำยอดขายในหน่วยเงินบาทมาคำนวณ
.
4. การได้รับบิตคอยน์เป็นเงินเดือน หรือค่าจ้าง: หากเป็นเงินเดือนจะจัดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) และหากเป็นค่าจ้างจะจัดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ให้นำมูลค่าบิตคอยน์ที่ได้รับในหน่วยเงินบาทมาคำนวณ
.
5. การได้กำไรจากส่วนต่างราคาจากการขายบิตคอยน์ (capital gain): จัดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) ให้นำมูลค่าเฉพาะส่วนกำไร (ราคาขาย-ต้นทุน) มาคำนวณ
เงินได้ประเภทนี้เกิดขึ้นทันทีที่เกิดการซื้อขายสำเร็จ หมายความว่าเงินได้ประเภทนี้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อทำการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเหรียญสำเร็จ แม้จะยังไม่ได้ถอนเงินหรือสินทรัพย์ออกมาจาก Exchange ก็ตาม
โดยที่หากซื้อขายใน Exchange ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ จาก ก.ล.ต. จะสามารถนำผลขาดทุนรวมในปีภาษีนั้นมาหักลบออกจากผลกำไรรวมในปีภาษีนั้นได้ แล้วนำเฉพาะผลกำไรส่วนต่างที่ยังเหลืออยู่มาคำนวณ (หากผลขาดทุนรวมมากกว่าผลกำไรรวม ถือว่าปีนั้นไม่เกิดเงินได้ตามมาตรานี้) ผลขาดทุนสามารถนำมาหักได้ปีต่อปี ไม่สามารถยกยอดสะสมข้ามไปใช้ในปีถัดไปได้
กรณีที่ได้รับบิตคอยน์มาด้วยวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การซื้อ ให้ใช้มูลค่าของบิตคอยน์ในตอนที่ได้รับมานั้น (ซึ่งได้นำไปคำนวณภาษีเงินได้ในประเภทนั้นๆ แล้ว) เป็นต้นทุนในการคำนวณผลกำไรตามมาตรานี้ เช่น
- หากได้รับเงินเดือนเป็นบิตคอยน์ และได้นำมูลค่าของเงินเดือนไปยื่นภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(1) แล้ว ให้ถือว่าบิตคอยน์นั้นมีต้นทุนเท่ากับมูลค่าเงินเดือน
- หากได้รับเงินบริจาคเป็นบิตคอยน์ และได้นำมูลค่าของเงินบริจาคไปยื่นภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) แล้ว ให้ถือว่าบิตคอยน์นั้นมีต้นทุนเท่ากับมูลค่าเงินบริจาค
ในกรณีที่ได้รับบิตคอยน์มาหลายครั้ง ต่างเวลา ต่างต้นทุนกัน กฎหมายอนุญาตให้เลือกคำนวณต้นทุนได้ 2 วิธี ระหว่างวิธีเข้าก่อนออกก่อน (First In - First Out) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) จะใช้วิธีใดก็ได้แต่ว่าต้องใช้วิธีเดียวกันกับการคำนวณเงินได้ของสินทรัพย์ดิจิทัลทุกชนิดในปีภาษีนั้น จะใช้หลายวิธีกับสินทรัพย์แต่ละชนิดไม่ได้ (ปีภาษีถัดไปสามารถเปลี่ยนวิธีได้)
.
6. การนำบิตคอยน์ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้า บริการ หรือแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่น: หากว่ามูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นในหน่วยเงินบาท มากกว่าต้นทุนตอนที่ได้บิตคอยน์นั้นมา ให้ถือว่ามีกำไรจากส่วนต่างราคาตามมาตรา 40(4)(ฌ) เช่นเดียวกับในข้อที่แล้ว
ยกตัวอย่างเช่น หากนำบิตคอยน์ไปแลกเปลี่ยนเป็นโทรศัพท์มูลค่า 15,000 บาท โดยที่บิตคอยน์นั้นมีต้นทุน 10,000 บาท ก็จะถือว่าต้องนำมูลค่าส่วนต่าง 5,000 บาทมาคำนวณ
.
.
.
การวัดมูลค่าของบิตคอยน์หรือสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่น ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. เป็นต้น
.
สำหรับการยื่นภาษีด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องแนบหลักฐานใดๆ แต่ว่าหากเจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาว่าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถเรียกให้เราต้องแสดงหลักฐานเพิ่มได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรเก็บหลักฐานและทำบัญชีธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ให้ครบถ้วน และคำนวณให้ถูกต้องด้วย
.
อาจารย์ขิง รายงาน T21 (nprofile…32rj)
#siamstr
—
อ้างอิง
คู่มือคำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/newsbanner/2022/03/Instructions_for_paying_personal_income_tax.pdf
ประมวลรัษฎากร
https://www.rd.go.th/5937.html#mata39
กฎกระทรวงฉบับที่ 380 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/T_0001.PDF