9shrek on Nostr: ...
ตอนที่ผมวัยมัธยมผมเป็นหนึ่งในคนที่ชอบกินเครื่องดื่มวิตามีซีมาก อร่อยด้วยได้ประโยชน์ด้วย(ผมไม่เคยเปิดดูฉลากที่ด้านหลังขวด)
หลังจากจบชั้นมัธยมเป็นช่วงที่ผมเริ่มดูแลสุขภาพแบบจริงๆจังๆ ผมดูฉลากอาหารก่อนรับประทานตลอด
จนวันนึงผมเหลือบไปเห็นเครื่องดื่มวิตามินซีแสนรักสุดโปรดที่เคยติดหนักมากเมื่อนานมาแล้ว ผมคิดว่า "กินซักขวดละกันไม่กินนานละ" แต่ด้วยที่ช่วงหลังมานี้ชอบดูฉลากเลยเผลอเปิดดูแบบผ่านๆ
น้ำตาล 16 กรัม แว๊บแรกที่เห็นคือตกใจมาก เพราะปกติตอนกินคือกินทีละ 2 ขวด ก็จะเป็นน้ำตาล 32 กรัม ผมเริ่มเอะใจแล้ววางมันลง แล้วไปกินอย่างอื่น และเลิกกินในที่สุด
ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมานี้เอง มีคนคนนึงได้นำเสนอความคิดที่ว่า "รีเซ็ปเตอร์ของวิตามินซีสามารถจับกับน้ำตาลได้ด้วย" จังหวะนั้นผมแบบเอ้ะะ อะหรือว่า
//ภาพตอนเด็กๆย้อนกลับมาเลย
ผมเริ่มมีความเอ้ะหลายอย่างเกิดขึ้นในหัว จนเวลาผ่านไป ผมว่างพอที่จะเริ่มหาข้อมูลว่ามันจริงมั้ย
จากบทความในแต่ละเว็บไซต์ที่ต่างกัน พูดไปในทางเดียวกันว่ามันส่งผลจริงๆ โดยน้ำตาล(ส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อวิตามินซีจะเป็นน้ำตาลกลูโคส แต่กลูโคสก็อยู่ในทุกที่ที่มีน้ำตาล ผมขอเรียกสั้นๆว่าน้ำตาลละกัน)กับวิตามินซีมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน น้ำตาลสูตรทางเคมีคือC6H12O6 วิตามินซีสูตรทางเคมีคือC6H8O6 ก็คล้ายกันจริงๆนั่นแหละ
จากการที่มันคล้ายกันนี่เองทำให้น้ำตาลใช้รีเซ็ปเตอร์ตัวเดียวกันกับวิตามินซีได้ในการดูดซึมเข้าเซลล์ แต่ประเด็นคือเวลาเราบริโภคพวกเครื่องดื่มที่น้ำตาลสูงๆเนี่ยเมื่อเทียบกับวิตามินซี วิตามิซีเหลือจิ๋วเดียวเมื่อเทียบกับน้ำตาลปริมาณมากๆทำให้วิตามินซีมีโอกาสต่ำลงในการจะไปจับกับรีเซ็ปเตอร์ เพราะโมเลกุลน้ำตาลมันหนาแน่นจนเบียดวิตามินซีออก ทำให้น้ำตาลจับกับรีเซ็ปเตอร์ได้ง่ายกว่าและไวกว่าวิตามินซี
หลังจากน้ำตาลจับกับรีเซ็ปเตอร์ไปเรื่อยๆ->น้ำตาลในเลือดสูง->vitamin c ไม่ถูกเอาไปใช้->ระดับวิตามินซีต่ำ->ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง->ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีเมื่อมีความจำเป็น
*อาหารจากธรรมชาติที่มีวิตามินซีเยอะ คือ บร็อคเคอรี่ ผักเคลล์ ส้ม มะเขือเทศ สตรอวเบอรี่ มะละกอ กีวี่ มันหวาน พาสลี่ย์ แคนตาลูป กะหล่ำดอก
!!!!!แต่ๆๆๆมันไม่ได้จบที่เท่านั้น ผมสงสัยต่อว่าน้ำตาลมันส่งผลต่อสารอาหารไหนบ้าง ผมเลยหาต่อ
1.วิตามินซี (ที่กล่าวไปก่อนหน้า)
2.วิตามินดี ส่งผลโดยการที่น้ำตาล(ส่วนใหญ่จะพูดถึงฟรุกโตส แต่ถึงยังไงฟรุกโตสก็อยู่ในแทบจะทุกที่ที่มีน้ำตาล ผมขอเรียกสั้นๆว่าน้ำตาลเลยละกัน)มันส่งผลต่อเอนไซม์บางตัวในร่างกายที่จะลดความสามารถในการเก็บวิตามินดี และก็ส่งผลกับเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีจากแดดด้วย = น้ำตาลในเลือดเยอะทำให้สังเคราะห์วิตามินดีจากแดดได้น้อยลง
3.แคลเซียม วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ ถ้ากินน้ำตาลมาก ->ระดับแคลเซียมตก ->วิตามินดีก็จะตกตาม ->ไตจะขับออกไปจากร่างกายเพราะมันมีวิตามินดีไม่พอที่จะช่วยจับเอาแคลเซียม
4.โครเมียม ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มโอกาสให้มีการปล่อยโครเมียมในร่างกายออกไปด้านนอกมากขึ้น (โครเมียมช่วยสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาสมดุลของอินซูลินในเลือด ควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอล เปลี่ยนไขมันให้เป็นไขมันดี )
5.แม็กนีเซียม สารที่ช่วยดูแลการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การบริโภคน้ำตาลมากจะส่งผลให้ร่างกายขับแม็กนีเซียมออก ส่งผลให้ระดับแม็กนีเซียมลดลง
กลับมาที่เครื่องดื่มวิตามินซี จริงๆคือนายทุนรู้กันอยู่แล้วแหละว่าใส่น้ำตาลมามันทำให้ดูดซึมวิตามินซีได้น้อยลง และเป็นความจงจัย เพราะพอร่างกายได้น้อยลง คนบริโภคกินเข้าไปแล้วไม่เห็นผล ก็จะกินวนไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นผล(จริงๆมันอาจจะไม่เห็นผลเลย) = ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
*ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แค่มาแชร์สิ่งที่ไปหาอ่านมาหนุกๆ
ใครรู้จักนักโภชนาการหรือหมอชาว #siamstr ชวนมาคุยในเม้นได้นะครับอยากได้มุมมองเพิ่มเติมจากผู้รู้
#siamstr #zap #nostr
หลังจากจบชั้นมัธยมเป็นช่วงที่ผมเริ่มดูแลสุขภาพแบบจริงๆจังๆ ผมดูฉลากอาหารก่อนรับประทานตลอด
จนวันนึงผมเหลือบไปเห็นเครื่องดื่มวิตามินซีแสนรักสุดโปรดที่เคยติดหนักมากเมื่อนานมาแล้ว ผมคิดว่า "กินซักขวดละกันไม่กินนานละ" แต่ด้วยที่ช่วงหลังมานี้ชอบดูฉลากเลยเผลอเปิดดูแบบผ่านๆ
น้ำตาล 16 กรัม แว๊บแรกที่เห็นคือตกใจมาก เพราะปกติตอนกินคือกินทีละ 2 ขวด ก็จะเป็นน้ำตาล 32 กรัม ผมเริ่มเอะใจแล้ววางมันลง แล้วไปกินอย่างอื่น และเลิกกินในที่สุด
ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมานี้เอง มีคนคนนึงได้นำเสนอความคิดที่ว่า "รีเซ็ปเตอร์ของวิตามินซีสามารถจับกับน้ำตาลได้ด้วย" จังหวะนั้นผมแบบเอ้ะะ อะหรือว่า
//ภาพตอนเด็กๆย้อนกลับมาเลย
ผมเริ่มมีความเอ้ะหลายอย่างเกิดขึ้นในหัว จนเวลาผ่านไป ผมว่างพอที่จะเริ่มหาข้อมูลว่ามันจริงมั้ย
จากบทความในแต่ละเว็บไซต์ที่ต่างกัน พูดไปในทางเดียวกันว่ามันส่งผลจริงๆ โดยน้ำตาล(ส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อวิตามินซีจะเป็นน้ำตาลกลูโคส แต่กลูโคสก็อยู่ในทุกที่ที่มีน้ำตาล ผมขอเรียกสั้นๆว่าน้ำตาลละกัน)กับวิตามินซีมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน น้ำตาลสูตรทางเคมีคือC6H12O6 วิตามินซีสูตรทางเคมีคือC6H8O6 ก็คล้ายกันจริงๆนั่นแหละ
จากการที่มันคล้ายกันนี่เองทำให้น้ำตาลใช้รีเซ็ปเตอร์ตัวเดียวกันกับวิตามินซีได้ในการดูดซึมเข้าเซลล์ แต่ประเด็นคือเวลาเราบริโภคพวกเครื่องดื่มที่น้ำตาลสูงๆเนี่ยเมื่อเทียบกับวิตามินซี วิตามิซีเหลือจิ๋วเดียวเมื่อเทียบกับน้ำตาลปริมาณมากๆทำให้วิตามินซีมีโอกาสต่ำลงในการจะไปจับกับรีเซ็ปเตอร์ เพราะโมเลกุลน้ำตาลมันหนาแน่นจนเบียดวิตามินซีออก ทำให้น้ำตาลจับกับรีเซ็ปเตอร์ได้ง่ายกว่าและไวกว่าวิตามินซี
หลังจากน้ำตาลจับกับรีเซ็ปเตอร์ไปเรื่อยๆ->น้ำตาลในเลือดสูง->vitamin c ไม่ถูกเอาไปใช้->ระดับวิตามินซีต่ำ->ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง->ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีเมื่อมีความจำเป็น
*อาหารจากธรรมชาติที่มีวิตามินซีเยอะ คือ บร็อคเคอรี่ ผักเคลล์ ส้ม มะเขือเทศ สตรอวเบอรี่ มะละกอ กีวี่ มันหวาน พาสลี่ย์ แคนตาลูป กะหล่ำดอก
!!!!!แต่ๆๆๆมันไม่ได้จบที่เท่านั้น ผมสงสัยต่อว่าน้ำตาลมันส่งผลต่อสารอาหารไหนบ้าง ผมเลยหาต่อ
1.วิตามินซี (ที่กล่าวไปก่อนหน้า)
2.วิตามินดี ส่งผลโดยการที่น้ำตาล(ส่วนใหญ่จะพูดถึงฟรุกโตส แต่ถึงยังไงฟรุกโตสก็อยู่ในแทบจะทุกที่ที่มีน้ำตาล ผมขอเรียกสั้นๆว่าน้ำตาลเลยละกัน)มันส่งผลต่อเอนไซม์บางตัวในร่างกายที่จะลดความสามารถในการเก็บวิตามินดี และก็ส่งผลกับเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีจากแดดด้วย = น้ำตาลในเลือดเยอะทำให้สังเคราะห์วิตามินดีจากแดดได้น้อยลง
3.แคลเซียม วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ ถ้ากินน้ำตาลมาก ->ระดับแคลเซียมตก ->วิตามินดีก็จะตกตาม ->ไตจะขับออกไปจากร่างกายเพราะมันมีวิตามินดีไม่พอที่จะช่วยจับเอาแคลเซียม
4.โครเมียม ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มโอกาสให้มีการปล่อยโครเมียมในร่างกายออกไปด้านนอกมากขึ้น (โครเมียมช่วยสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาสมดุลของอินซูลินในเลือด ควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอล เปลี่ยนไขมันให้เป็นไขมันดี )
5.แม็กนีเซียม สารที่ช่วยดูแลการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การบริโภคน้ำตาลมากจะส่งผลให้ร่างกายขับแม็กนีเซียมออก ส่งผลให้ระดับแม็กนีเซียมลดลง
กลับมาที่เครื่องดื่มวิตามินซี จริงๆคือนายทุนรู้กันอยู่แล้วแหละว่าใส่น้ำตาลมามันทำให้ดูดซึมวิตามินซีได้น้อยลง และเป็นความจงจัย เพราะพอร่างกายได้น้อยลง คนบริโภคกินเข้าไปแล้วไม่เห็นผล ก็จะกินวนไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นผล(จริงๆมันอาจจะไม่เห็นผลเลย) = ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
*ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แค่มาแชร์สิ่งที่ไปหาอ่านมาหนุกๆ
ใครรู้จักนักโภชนาการหรือหมอชาว #siamstr ชวนมาคุยในเม้นได้นะครับอยากได้มุมมองเพิ่มเติมจากผู้รู้
#siamstr #zap #nostr