Tung Khempila on Nostr: Freedom และ อิสรภาพ ...
Freedom และ อิสรภาพ มิได้เกี่ยวข้องกับการค้นหาความหมายในชีวิต และระบบทุนนิยมนี่แหละสร้างความหมายและคุณค่า
Man’s Search for Meaning
บทความนี้ผมเรียบเรียงจากกระบวนการคิดของแนวคิด Existentialism อย่าง Dostoevsky, Nietzsche และ Viktor Frankl จากที่ผมได้อ่านงานเขียนของพวกเค้าและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Jordan Peterson ( 12 rule for life : an antidote to chaos) ควรไปหามาอ่านซะ
ผมคิดว่าบทความนี้คือคำถามเชิงปรัชญาอย่างตรงไปตรงมา กับการดำรงค์อยู่ของเรา
โดยผมให้หัวข้อเรื่องของ Freedom หรือ อิสรภาพ ซึ่งเหตุและผลที่ผมมองว่า อิสรภาพไม่ได้เกี่ยวกับการค้นหาความหมายในชีวิต เลยสักนิดเดียว
ก่อนอื่นผมอยากให้เรามาทำความเข้าใจต้นตอของชีวิต หรือ Based พื้นฐานของชีวิตก่อน ว่ามนุษย์หรือสังคมมนุษย์ส่วนใหญ่มีการอบรมสั่งสอนลูก หรือ ทายาทของพวกเค้าให้ไม่สมบูรณ์นัก ซึ่งตรงนี้ในหนังสือ 12 rule ของ Peterson ได้นำเสนเรื่องราวของ คาอินและอาเบล และคำสาปที่พวกเค้านั้นละทิ้งความสามารถในการอดทน คำสาปแช่งที่ว่า บุตรหรือทายาทของอดัม ในรุ่นถัดๆไปจะมีความทุกข์ยากและสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น มิว่ายุคใดก็ตาม ต่อให้พวกเค้าจะมีความสุขสบายทางกายมากขึ้น ก็จะยังพบเจอและสร้างปัญหาอยู่ได้ทุกเมื่อ
เฉกเช่นเดียวกันอิสรภาพในทุกวันนี้ เราล้วนมีอิสภาพแม้กระทั่งการปลิดชีพ ฆ่าตัวตาย
คำถามคือ ผู้ที่โดนรัฐบาลเล่นงานจากภัยความมั่นคง กับ ผู้ที่ไม่มีแม้แต่รัฐคอยมองการกระทั่งพวกเค้ากระโดดตึก ฆ่าตัวตาย สิ่งใดเล่าคืออิสรภาพที่แท้จริง และความหมายที่แท้จริงของชีวิต
ใช่แล้วครับชีวิตท่ามกลางเสรีภาพในโลกยุคปัจจุบันเปรียบเสมือนสนามเด็กเล่น เพียงแค่คุณไม่ไปเหยียบเท้าใครเค้าเข้า ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ เพียงแต่คุณอาจจะต้องเสียเงินค่าสนามให้กับผู้คุมกติกา
เฉกเช่นเดียวกับหนังสืออย่าง Man’s Search for Meaning ที่การค้นหาความหมายคือการดำรงค์อยู่ แฟรงค์ได้อธิบายว่า เค้าคือลูกของพ่อและแม่ นั่นคือศรัทธาและความเชื่อจากรากเง่าเพียงเพราะเราต้องการที่จะกระทำการบางสิ่งที่เป็นจุดหมายให้สำเร็จ ชีวิตของท่านจึงมีความหมาย
ผมตัดกลับมาที่หนังสือ 12 กฏแห่งการใช้ชีวิตของ Peterson ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ผ่าน การตีความในวรรณกรรมของ Dostoevsky “Life isn’t piano key’s” มันคือการตีความของความหมายของมนุษย์ที่บ่งบอกว่ามันไม่ได้สวยงาม ในจุดหมายและปลายทาง มันมีความสลับซับซ้อนอยู่ในตัว สิ่งหนึ่งที่คุณควรยึดไว้ก็คือหลากฐานของชีวิต หรือ การดำรงค์อยู่ที่ไปข้างหน้า มันจะเดินไปพร้อมๆกัน
คุณต้องการ “เสรีนิยม” เพื่อจะให้อิสรภาพในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และ คุณต้องการ “อนุรักษ์นิยม” เพื่อทำให้คุณไม่ไขว้เขวไปกับสิ่งเร้าหรือโลกสมัยใหม่
มนุษย์นั้นดำรงค์อยู่ได้ในสภาวะที่เป็นความโกลาหล และพวกเค้ารู้จักระเบียบซึ่งจะพาพวกเค้าไปสู่จุดมุ่งหมาย เฉกเช่นเดียวกับปัจจุบัน เรามีการปรับปรุงส่วนโครงสร้างให้เป็นระเบียบ และมาตรฐานของการยกระดับสภาพสังคม
แต่คำตอบคือ มนุษย์ นั่นเอง มนุษย์นั่นแหละที่กลายเป็นความโกลาหลมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในระบอบทุนนิยมที่เราดำรงค์อยู่กัน นั้นให้อิสรภาพเหนือกว่าที่มนุษย์ยุคก่อนหน้าเรา
ซึ่งระบอบทุนนิยมนี่เองที่จัดระเบียบตามธรรมชาติ ของการคัดสรรค์สิ่งที่มนุษย์ได้เลือกกระทำ เป็นการบ่งบอกถึงสิ่งที่มีความหมายผ่าน action ตามการตีความของเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียน(Ludwig von mises : Human Action) และคุณประโยชน์อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ในคุณลักษณะที่มีอิทธิพลต่อระบบแห่งเสรีภาพภายใต้ความรับผิดชอบหรือเหตุและผลที่มนุษย์ร่วมกันสร้าง
การดำรงค์อยู่และผลักดันเป้าหมายของมนุษย์คือคุณค่าของสิ่งที่ดีงาม หรือ บางครั้งมันช่วยให้เรารอดพล้นจากความว่างเปล่า จากย่อหน้าแรกที่กล่าวมา ผมได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่มนุษย์มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุผลมาจาก พวกเค้ามีความศรัทธาในความตายมากกว่าอิสรภาพที่พวกเค้าพึงต่อสู้ ผ่านระบอบทุนนิยม
พวกเค้าพยายามคัดค้านอิสรภาพที่แท้จริง และต่อต้านความสวยงาม ทั้งความพ่ายแพ้ต่อชีวิต ในการมีอยู่ ในการดำรงค์ชีวิต ในความไม่เท่าเทียม
ฟรีดริช นิทเช่ได้กล่าวไว้ว่า
ข้าฯไม่ปรารถนาจะถูกนำไปสับสนปนเปกับนักเทศน์แห่ง ความเสมอภาคเหล่านี้ ด้วยว่าสำหรับข้าฯแล้ว ความยุติธรรม กล่าวออกมาดังนี้ : “มนุษย์ย่อมไม่เท่าเทียม” ทั้งมิอาจทำให้ เท่าเทียม! ความศรัทธาในอภิมนุษย์ของข้าฯจะเป็นเช่นไร หากข้าฯกล่าวเป็นอย่างอื่น?
เพื่อเป็นการย้ำเตือนโลกที่มีอิสรภาพโดยปราศจากแรงกระตุ้น จากการกระทำการครั้งยิ่งใหญ่ เพราะโลกมันมีความหมายเพราะเราได้รับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้เราแข็งแกร่ง และมันมีความหมายตั้งแต่รากเง่าแรกหลังจากการลืมตาตื่นขึ้นมาพร้อมกับความทุกข์ยากที่เราจะต้องเผชิญในแต่ละวัน
ดังนั้นความหมายในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะสร้างชนชั้นนำและผู้ที่ปรารถนาจักต้องมีความรับผิดชอบ แม้กระทั่งความรับผิดชอบของตัวเอง และฝ่าด่านของความเจ็บปวดทางด้านของจิตใจไปให้ได้ นี่คือหนทางเดียว หนทางสู่ความหมาย ที่ทั้งผม ที่ทั้งคุณต่างมิสามารถที่จะเอ่ยมันขึ้นมาได้ แต่เราจะรับรู้โดยจิตวิญญาณในตัวเอง
#siamstr
Man’s Search for Meaning
บทความนี้ผมเรียบเรียงจากกระบวนการคิดของแนวคิด Existentialism อย่าง Dostoevsky, Nietzsche และ Viktor Frankl จากที่ผมได้อ่านงานเขียนของพวกเค้าและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Jordan Peterson ( 12 rule for life : an antidote to chaos) ควรไปหามาอ่านซะ
ผมคิดว่าบทความนี้คือคำถามเชิงปรัชญาอย่างตรงไปตรงมา กับการดำรงค์อยู่ของเรา
โดยผมให้หัวข้อเรื่องของ Freedom หรือ อิสรภาพ ซึ่งเหตุและผลที่ผมมองว่า อิสรภาพไม่ได้เกี่ยวกับการค้นหาความหมายในชีวิต เลยสักนิดเดียว
ก่อนอื่นผมอยากให้เรามาทำความเข้าใจต้นตอของชีวิต หรือ Based พื้นฐานของชีวิตก่อน ว่ามนุษย์หรือสังคมมนุษย์ส่วนใหญ่มีการอบรมสั่งสอนลูก หรือ ทายาทของพวกเค้าให้ไม่สมบูรณ์นัก ซึ่งตรงนี้ในหนังสือ 12 rule ของ Peterson ได้นำเสนเรื่องราวของ คาอินและอาเบล และคำสาปที่พวกเค้านั้นละทิ้งความสามารถในการอดทน คำสาปแช่งที่ว่า บุตรหรือทายาทของอดัม ในรุ่นถัดๆไปจะมีความทุกข์ยากและสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น มิว่ายุคใดก็ตาม ต่อให้พวกเค้าจะมีความสุขสบายทางกายมากขึ้น ก็จะยังพบเจอและสร้างปัญหาอยู่ได้ทุกเมื่อ
เฉกเช่นเดียวกันอิสรภาพในทุกวันนี้ เราล้วนมีอิสภาพแม้กระทั่งการปลิดชีพ ฆ่าตัวตาย
คำถามคือ ผู้ที่โดนรัฐบาลเล่นงานจากภัยความมั่นคง กับ ผู้ที่ไม่มีแม้แต่รัฐคอยมองการกระทั่งพวกเค้ากระโดดตึก ฆ่าตัวตาย สิ่งใดเล่าคืออิสรภาพที่แท้จริง และความหมายที่แท้จริงของชีวิต
ใช่แล้วครับชีวิตท่ามกลางเสรีภาพในโลกยุคปัจจุบันเปรียบเสมือนสนามเด็กเล่น เพียงแค่คุณไม่ไปเหยียบเท้าใครเค้าเข้า ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ เพียงแต่คุณอาจจะต้องเสียเงินค่าสนามให้กับผู้คุมกติกา
เฉกเช่นเดียวกับหนังสืออย่าง Man’s Search for Meaning ที่การค้นหาความหมายคือการดำรงค์อยู่ แฟรงค์ได้อธิบายว่า เค้าคือลูกของพ่อและแม่ นั่นคือศรัทธาและความเชื่อจากรากเง่าเพียงเพราะเราต้องการที่จะกระทำการบางสิ่งที่เป็นจุดหมายให้สำเร็จ ชีวิตของท่านจึงมีความหมาย
ผมตัดกลับมาที่หนังสือ 12 กฏแห่งการใช้ชีวิตของ Peterson ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ผ่าน การตีความในวรรณกรรมของ Dostoevsky “Life isn’t piano key’s” มันคือการตีความของความหมายของมนุษย์ที่บ่งบอกว่ามันไม่ได้สวยงาม ในจุดหมายและปลายทาง มันมีความสลับซับซ้อนอยู่ในตัว สิ่งหนึ่งที่คุณควรยึดไว้ก็คือหลากฐานของชีวิต หรือ การดำรงค์อยู่ที่ไปข้างหน้า มันจะเดินไปพร้อมๆกัน
คุณต้องการ “เสรีนิยม” เพื่อจะให้อิสรภาพในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และ คุณต้องการ “อนุรักษ์นิยม” เพื่อทำให้คุณไม่ไขว้เขวไปกับสิ่งเร้าหรือโลกสมัยใหม่
มนุษย์นั้นดำรงค์อยู่ได้ในสภาวะที่เป็นความโกลาหล และพวกเค้ารู้จักระเบียบซึ่งจะพาพวกเค้าไปสู่จุดมุ่งหมาย เฉกเช่นเดียวกับปัจจุบัน เรามีการปรับปรุงส่วนโครงสร้างให้เป็นระเบียบ และมาตรฐานของการยกระดับสภาพสังคม
แต่คำตอบคือ มนุษย์ นั่นเอง มนุษย์นั่นแหละที่กลายเป็นความโกลาหลมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในระบอบทุนนิยมที่เราดำรงค์อยู่กัน นั้นให้อิสรภาพเหนือกว่าที่มนุษย์ยุคก่อนหน้าเรา
ซึ่งระบอบทุนนิยมนี่เองที่จัดระเบียบตามธรรมชาติ ของการคัดสรรค์สิ่งที่มนุษย์ได้เลือกกระทำ เป็นการบ่งบอกถึงสิ่งที่มีความหมายผ่าน action ตามการตีความของเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียน(Ludwig von mises : Human Action) และคุณประโยชน์อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ในคุณลักษณะที่มีอิทธิพลต่อระบบแห่งเสรีภาพภายใต้ความรับผิดชอบหรือเหตุและผลที่มนุษย์ร่วมกันสร้าง
การดำรงค์อยู่และผลักดันเป้าหมายของมนุษย์คือคุณค่าของสิ่งที่ดีงาม หรือ บางครั้งมันช่วยให้เรารอดพล้นจากความว่างเปล่า จากย่อหน้าแรกที่กล่าวมา ผมได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่มนุษย์มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุผลมาจาก พวกเค้ามีความศรัทธาในความตายมากกว่าอิสรภาพที่พวกเค้าพึงต่อสู้ ผ่านระบอบทุนนิยม
พวกเค้าพยายามคัดค้านอิสรภาพที่แท้จริง และต่อต้านความสวยงาม ทั้งความพ่ายแพ้ต่อชีวิต ในการมีอยู่ ในการดำรงค์ชีวิต ในความไม่เท่าเทียม
ฟรีดริช นิทเช่ได้กล่าวไว้ว่า
ข้าฯไม่ปรารถนาจะถูกนำไปสับสนปนเปกับนักเทศน์แห่ง ความเสมอภาคเหล่านี้ ด้วยว่าสำหรับข้าฯแล้ว ความยุติธรรม กล่าวออกมาดังนี้ : “มนุษย์ย่อมไม่เท่าเทียม” ทั้งมิอาจทำให้ เท่าเทียม! ความศรัทธาในอภิมนุษย์ของข้าฯจะเป็นเช่นไร หากข้าฯกล่าวเป็นอย่างอื่น?
เพื่อเป็นการย้ำเตือนโลกที่มีอิสรภาพโดยปราศจากแรงกระตุ้น จากการกระทำการครั้งยิ่งใหญ่ เพราะโลกมันมีความหมายเพราะเราได้รับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้เราแข็งแกร่ง และมันมีความหมายตั้งแต่รากเง่าแรกหลังจากการลืมตาตื่นขึ้นมาพร้อมกับความทุกข์ยากที่เราจะต้องเผชิญในแต่ละวัน
ดังนั้นความหมายในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะสร้างชนชั้นนำและผู้ที่ปรารถนาจักต้องมีความรับผิดชอบ แม้กระทั่งความรับผิดชอบของตัวเอง และฝ่าด่านของความเจ็บปวดทางด้านของจิตใจไปให้ได้ นี่คือหนทางเดียว หนทางสู่ความหมาย ที่ทั้งผม ที่ทั้งคุณต่างมิสามารถที่จะเอ่ยมันขึ้นมาได้ แต่เราจะรับรู้โดยจิตวิญญาณในตัวเอง
#siamstr