What is Nostr?
/ lungkaaichaoguay
npub140s…6yd7
2024-11-14 02:09:11

lungkaaichaoguay on Nostr: ความยากของานด้านธรรมชาติ ...

ความยากของานด้านธรรมชาติ และช่องว่างที่มากขึ้น

ช่วงที่เราไปเลี้ยงเพรียงทราย อยู่ที่กรมประมงนั้น เป็นช่วงที่เรานั้น ได้ออกนอกเส้นทาง ของงานที่เคยทำจำพวก หญ้าทะเล ปะการัง สัตว์ทะเลหายาก และนั้นคือโอกาสที่เราไม่รู้ตัวว่า มันทำให้เราได้เห็นโลก ในมุมต่างๆมากขึ้นในด้านอื่นๆ หนึ่งในนั้น คือการเงิน (อยากรวยเร็ว จะได้รีบลาออกอะนะ 55555) แต่ความตื่นเต้นมันไม่ได้อยู่ตรงนั้น มันดันไปเชื่อมโยงกับปัญหาที่พยายามแก้ไขอยู่

หลายๆใครคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "คนหาเช้ากินค่ำแค่เขาคิดเรื่องความอยู่รอดวันต่อวัน ก็เหนื่อยจะตายแล้ว จะเอาเวลาที่ไหนมาคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมละ" เรื่องการเงินที่เราไปเจอ มันช่วยอธิบายประโยคเหล่านี้ ได้อย่างชัดเจน

เงินเฟ้อ เฟ้อที่ไหน? เงินเฟ้อนั้นหลายๆคนอาจจะเข้าใจว่า เฟ้อจากราคาของที่สูงขึ้น แต่สิ่งที่เราไปเข้าใจมานั้น เงินเฟ้อ เฟ้อจาก ปริมาณเงิน money supply เราเคยเข้าใจว่า ถ้าเราอยากมีปริมารเงินที่เพิ่มขึ้นนั้น เราต้องมีปริมาณทองคำ ที่เท่ากัน วางไว้เป็นหลักประกันอยู่ แต่คำถามคือ ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นตอนนี้ มันเพิ่มขึ้นได้จากอะไร ทำไมเงินสร้างง่าย และคุณค่าของเงินก็ลดลงแบบที่เรา "ไม่สามารถอดออมได้" ตอนเด็กเราถูกสอนให้หยอดกระปุก แต่โตขึ้นมาเราถูกสอนใน ลงทุน เพราะเงินมันเสื่อมมูลค่าอยู่เสมอ เพราะการออมมันไม่สามารถทำได้จริง

สิ่งนี้แหละที่มันรีเลทกับปัญหาด้านธรรมชาติ และคือ layer 1 ที่ทรัพยากรถูกใช้งานเกินเหตุอันควร คือ เงินมันเสื่อมมูลค่า

เราตั้งคำถามง่ายๆเลยว่า เราทุกคนต้องทำงานสร้าง productivity เพื่อแลกเงินไปปล่อยคาร์บอน แต่ในระบบการเงินที่สามารถสร้างเงิน มาปล่อยคาร์บอนได้นั้น มันไม่แปลกที่คาร์บอนจะถูกปล่อยออกมา จนวัฏจักรของมันเสียไป ถ้าเราอยากเติมน้ำมัน เราต้องทำงานแลกเงินไปซื้อน้ำมัน แต่ทำไมเราจึงสามารถสร้างเงินมาซื้อน้ำมันได้

ในเรื่องของการประมง ชาวประมงต้องจับปลาเพื่อแลกเงิน ชาวประมงสามารถเลือกจับปลาตัวใหญ่ ปลาชนิดที่อร่อยๆ ตามความต้องการของผู้ตน แต่เงินของชาวประมงนั้น เสื่อมมูลค่าอยู่เสมอ นั้นเท่ากับว่า ชาวประมงไม่สามารถจับปลาได้เท่าเดิมได้ เพราะมันช้ากว่าเงินเฟ้อจากปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ผลคือ ชาวประมงต้องจับปลาเกินกว่าที่ต้องการ ปลาตัวเล็ก ปลาชนิดที่ไม่อร่อย ถูกจับมากขึ้นเพื่อ จะมาสู้กับเงินเฟ้อนั้น และวัฏจักรของสัตว์น้ำก็พังลง....

ทรัพยากรต่างๆ ต้องถูกใช้เพิ่มตามรปริมาณเงินที่เฟ้อขึ้นนั้น ไม่ใช่เพราะสังคมมนุษย์เติบโตขึ้น แต่เป็นเพราะ เราต้องหาเงินให้มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น เพื่อให้เรามีเงินมากพอ ที่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้

และปัญหานี้ที่แหละที่จะสร้างความขัดแย้งให้กับผู้คน โดยเฉพาะผู้คนใน layer 1 ที่ใช้ทรัพยากรโดยตรง แต่กลับกลายเป็นผู้ร้าย ต่อผู้คนที่ใช้ทรัพยากรทางอ้อมใน layer 2 3 4 5 ที่มักถูกนิยามว่า คนในเมือง คนในแผ่นดินต่างๆ ที่ไม่ต้องมาใช้ทรัพยากรโดยตรง

skin in the game หรือการมีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ผู้คนที่ใช้ทรัพยากรใน layer 2 3 4 5 มักจะสามารถพูดหรือบอกให้ผู้คนใน layer 1 หยุดประกอบอาชีพได้ ง่ายๆ เพราะมันไม่ได้มีผลเสียต่อเขา เราสามารถเห็นเหตุการณ์นี้ได้ตามดราม่าต่างๆ ไม่ว่าจะโรนันกับไต่เรือ ลอบกับนักดำน้ำ หรือฉลามกับชาวประมง เป็นต้น

หรืออย่างกรณีล่าสุด ลอยกระทง การตั้งคำถามว่า ถ้าไม่นับเรื่องเงิน ขอดีของการลอยกระทงคืออะไร คำตอบก็คือ เรื่อเงินนั้นแหละ 5555 แต่ทำไมละผู้คนถึงมองจะแต่เรื่องเงินก่อนทุกสิ่งเสมอ ก็เพราะเงินคือสิ่งที่ทำให้ทุกคนมีชีวิตรอดได้ แบบทางตรง layer 1 การที่เงินเสื่อมมูลค่าอยู่เสมอ มันทำให้ผู้คนไม่สามารถมองอนาคตได้ ไม่สามารถมองได้ว่า พะยูน เต่าทะเล นก หรือระบบนิเวศหน้าบ้านเขา จะสร้างเม็ดเงินในเขาทางอ้อมใน layer 2 3 4 5 อย่างไร

พะยูนตาย หรือมีชีวิต ฉันก็ไม่ได้เงินเพิ่ม แต่ขายกระทง ฉันได้กำไรส่วนต่างแน่ๆ

และนี่คือปัญหาที่แท้จริง layer 1 มันไม่เกี่ยวเรื่องจิตสำนึก เรื่ององค์ความรู้อะไร มันมีแต่เรื่องของ เงินที่เสื่อมมูลค่าจนผู้คนไม่สามารถ มองอย่างอื่นได้นั่นเองงง เพราะถ้าเรามีเงินที่แข็งแกร่งนั้น ผู้คนจะรู้จักพอ ด้วยกลไกลของธรรมชาติ....


#siamstr
Author Public Key
npub140sfp403pqmgnzkvjsajvykfy68cdnml3h4mjz9s2r26ml59q2yqtl6yd7