Reallife on Nostr: ความเป็นหนึ่ง ...
ความเป็นหนึ่ง
ระหว่างไกวัลยธรรมกับสิ่งเกิดใหม่
คู่ที่ ๑ ธรรมะดั้งเดิม กับ ธรรมะแปรรูป ธรรมดั้งเดิม คือ กฏอันเด็ดขาด เป็นปกาสิตอันเฉียบขาด ของพระเจ้า แล้วจากกฏนี้ มันแปรรูป ออกมาเป็น รูปธรรม นามธรรม สิ่งที่ออกมาจากกฏ และเป็นไปตามกฏ เรียก "ธรรมะแปรรูป"
ไกวัลยธรรม คือ ธรรมะดั้งเดิม สิ่งที่แปรรูปออกมา เป็น "ธรรมะแปรรูป". (๖๖)
คู่ที่ ๒ ธรรมแท้ กับ ประกายธรรม ธรรมแท้ คือ ธรรมะแม่ อันเป็นสิ่งที่ไม่รู้จักหมด และไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง ตามความหมายของคำว่า "ไกวัลย์" ทีนี้ ธรรมะลูก เป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมะแม่ มีมากมายนับไม่ถ้วน เปรียบประกายไฟ ที่เกิดจาก สิ่งสองสิ่งกระทบ หรือ เสียดสีกัน สิ่งที่ถูกกระทบเป็นแม่ ประกายไฟเป็นลูก. (๖๗)
คู่ที่ ๓ ธรรมปฐมเหตุ กับ ธรรมนานาผล ธรรมอันเป็นปฐมเหตุ ได้แก่ กฏที่เรียกว่า ตถาตา อวิตถตา อนัญญถตา ธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา นี่คือ ปฐมเหตุ อันมีอยู่ก่อนสิ่งใด นอกนั้น เป็น นานาผล นานาประการ อันเกิดขึ้น และ ตั้งอยู่ ในปฐมเหตุนั้น ปฐมเหตุมีหนึ่งเดียว เรียก "ไกวัลยธรรม" ส่วนผลนั้น มีมากมาย สุดคณานับ (๖๘)
คู่ที่ ๔ อาทิธรรม กับ นิรมานธรรม อาทิธรรม หมายถึง ธรรมทีแรก หรือ เบื้องต้น นี่เป็นธรรมตายตัว แล้วปรากฏออกมาเป็น นิรมานธรรม คือ ธรรมที่บิดเบือน หรือ เปลี่ยนแปลง เมื่อมีการปรุงสิ่งนี้ขึ้นมา สิ่งนั้นก็ปรุงสิ่งอื่นต่อไป ไม่สิ้นสุด จนกว่า จะดับลงทั้งหมด ก็จะเหลือแต่ อาทิธรรม (๖๙)
ร่างกาย จิตใจ มันสมอง ความคิด ความรู้ เหล่านี้ก็เป็น นิรมานธรรม ครั้นเมื่อ มันรู้จักตัวเองว่า สักแต่ว่าเป็น นิรมานธรรม จะทำให้มีการ ปล่อยวาง นิรมานธรรม ทั้งหมด เป็นการเข้าถึง "อาทิธรรม" อันเป็น ผู้ให้กำเนิด หรือ เป็นพ่อแม่แห่งตน (๗๐)
อาทิธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งทั้งหลาย ที่ปรากฏเป็น นิรมานธรรม อันเป็นเพียง ปฏิกิริยา ของสิ่งที่มีการกระทบกัน ย่อมเปลี่ยนแปลง เปรียบลมกระทบผิวน้ำ ให้เกิดคลื่น น้ำเป็นอาทิธรรม คลื่นเป็นนิรมานธรรม (๗๑)
หลักเกณฑ์อันนี้ มีความหมาย คล้ายกันมาก ระหว่างทางวัตถุ กับ ทางนามธรรม
- ทางวัตถุธรรม ดวงอาทิตย์ เป็นต้นกำเนิด ของจักรวาล ของโลก และ ของสิ่งทั้งปวง ที่ปรากฏอยู่ในโลก
- ทางนามธรรม มีตัวธรรมะเดิมแท้ ที่มั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็น อมตธรรม ตั้งอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่มีช่องว่างชั่วนิรันดร อันเป็นที่ตั้ง รองรับ ของ ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีฐานะ เป็นเพียง ประกายธรรม หรือ ปฏิกิริยา ตั้งอยู่ในฐานะเป็น อันตรธรรม คือ ธรรมชั่วคราว มีการเกิดขึ้นแล้วดับไป
"นิรันดร" เปรียบได้กับ "ไกวัลยธรรม". (๗๒)
ผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง เป็นสิ่งเดียวกัน
ต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง เรียกผู้สร้าง แต่ไม่ปรากฏตัว ส่วนสิ่งที่ปรากฏ ได้แก่ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ด้วยฝีมือของผู้สร้าง ดังที่กล่าวว่า "พรหมเป็นโยนีของสิ่งทั้งปวง" คือ เป็นที่คลอดออกมาของสิ่งทั้งปวง นั่นคือ ไกวัลยธรรมเป็นแม่ สิ่งนอกนั้นเป็นลูก คือสิ่งที่ถูกคลอดออกมา. (๗๓)
สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา ย่อมได้รับการบัญญัติ ตามลักษณะที่เป็นอยู่ เช่นการบัญญัติ เรื่องธาตุ๖ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุเหล่านี้ จัดเป็น สังขตธาตุ ดังนี้เป็นต้น. (๗๔)
เมื่อมีปรากฏการณ์ขึ้นแล้ว ย่อมมีอาการเป็น ความเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมถูกบัญญัติ โดยอาการว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วก็มีการบัญญัติ ตามลักษณะ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อันเป็น ลักษณะของความทุกข์ ครั้นมองเห็น สภาวะทุกข์ ตามเป็นจริง ก็เกิดการแสวงหาทางพ้น ทำให้ได้พบ แนวทางของการปฏิบัติ จึงได้มีการบัญญัติเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา จนเกิดเป็นมรรค ผล นิพพาน ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของการบัญญัติ ทั้งสิ้น เพราะ มิได้เป็นอยู่เอง อย่างตายตัว เหมือนสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมธาตุ" หรือ "ไกวัลยธรรม". (๗๕)
การรู้จักแยกว่า สิ่งใดเป็นผู้สร้าง สิ่งใดเป็นผู้ถูกสร้าง ย่อมทำให้เกิดวิชชา มีแสงสว่าง ที่จะทำให้เกิด การกระทำที่ถูกต้อง สิ่งที่ปรากฏทั้งหมด เป็นผล อันเนื่องมาจากไกวัลยธรรม เมื่อสาวจากผลไปหาเหตุ คือปฐมเหตุ ย่อมพบสิ่งเดียวกัน นั่นคือ ไกวัลยธรรม (๗๖)
ปัญหาเกิดขึ้นมาว่า "ไกวัลยธรรม" จะพบได้ที่ไหน คำตอบคือ จะพบได้ใน ทุกสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เพราะ ในธรรมชาติทั้งหลาย ย่อมมี กฏธรรมชาติ ควบคุมอยู่ ในทุกปรมาณู หรือ ทุกเซลล์ ที่ประกอบกันขึ้น เป็นร่างกายของคน คนหนึ่ง ย่อมมีกฏ มีสิ่งที่เรียกว่า "กฏ" อยู่ในนั้น มันจึงบังคับสิ่งนั้น ให้เป็นไปตามกฏ. (๗๗)
จิตใจที่สกปรก มืดมัว เร่าร้อน มันก็เป็นไปตามกฏ จิตใจที่ สะอาด สว่าง สงบ ก็เป็นไปตามกฏ ฉะนั้น สิ่งที่เป็นไปตามกฏนั้น มีมากมายนับไม่ถ้วน แต่มันจะรวมอยู่ที่คำ คำเดียว คือ "กฏ" (๗๘)
ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงถึง ความหมาย ของสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ๒ ประการ คือ
๑. เป็นสิ่งเดียวโดด
๒. แบ่งแยกละเอียดถี่ยิบนับไม่ไหว (๗๙)
ความหมายของทั้งสองสิ่งนี้ ไม่แตกต่างกันเลย แต่มองคนละจุด ข้อแรก มองที่ ปฐมเหตุ ข้อสอง มองที่สิ่งทั้งปวง อันถูกสร้างขึ้น ที่แท้ มันเป็นอันเดียวกัน ทั้งผู้สร้าง และสิ่งที่ถูกสร้าง ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ จะทำให้กลับไปหา ผู้สร้างได้ โดยอาศัย สิ่งที่ถูกสร้าง เป็นทางนำ (๘๐)
ทุกสิ่งออกมาจากกฏเดียวกัน
ทั้งรูปธรรมนามธรรม
สิ่งที่เรียกว่า "กฏ" ได้แก่ "ไกวัลยธรรม" หมายถึง สิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่มีอยู่ในที่ทั่วไป และสิ่งที่เป็น สิ่งเดียวกันหมด ทุกหนทุกแห่ง มีชื่อเรียก ต่างๆกัน ดังนี้
ตถตา ความเป็นอย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
อวิตถตา ความที่ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อนัญญถตา ความเป็นสิ่งที่กลายเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ธัมมัฏฐิตตา เป็นการตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมนิยามตา เป็นบทนิยามแห่งธรรม
อิทัปปัจจยตา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น (๘๑)
สิ่งนี้แม้จะมีชื่อเรียกมากมาย แต่รวมแล้วก็มีความหมาย อย่างเดียว ตามความหมาย ของ "ไกวัลยธรรม"
ไกวัลยธรรม เป็นทั้งตัวกฏ และเจ้าของแห่งกฏ ดังที่กล่าวว่า พระเจ้าคือกฏ กฏคือพระเจ้า และสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ย่อมอยู่ในกฏของพระเจ้า นี่คือส่วนของ นามธรรม นักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า "กฏของธรรมชาติ" ธรรมชาติ ก็คือ กฏ และ กฏก็คือธรรมชาติ นี่เป็นส่วนของรูปธรรม ทั้งพระเจ้าผู้สร้าง และ ธรรมชาติ ซึ่งถูกสร้างขึ้น ที่แท้ ก็คือ สิ่งเดียวกัน ได้แก่ "ไกวัลยธรรม" (๘๒)
ชีวิตของคนเรา ออกมาจากสิ่งนี้ โดยสิ่งนี้ และเป็นไปตามอำนาจ ของสิ่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ชั่วขณะหนึ่ง เท่านั้น เมื่อเทียบกับ ความยิ่งใหญ่ ของไกวัลยธรรม แล้ว การมีชีวิตอยู่แม้สัก ๑๐๐ ปี ก็เรียกได้ว่า ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง เปรียบคนกับโลก ก็เห็นได้ว่า คน เป็นเพียงขี้ฝุ่น ของโลก เท่านั้น แต่ ไกวัลยธรรม มีความยิ่งใหญ่ ขนาดเป็น ที่รวม ที่บรรจุ ของทุกโลก ทุกจักรวาล แล้วลองเปรียบเทียบเองว่า คน มีขนาดเท่าไหน เมื่อเทียบกับไกวัลยธรรม ฉะนั้น คนอย่าอวดดีไปว่า "ข้าเป็นนั่นเป็นนี่" ที่แท้ เป็นสิ่งไร้ความหมาย อย่างสิ้นเชิง (๘๓)
ทบทวนความหมายของคำว่า "ธรรม"
คำว่า "ธรรม" แปลว่า "ทรงอยู่" ทั้งที่ทรงอยู่อย่างชั่วคราวและทรงอยู่อย่างถาวร เป็นอนันตะ ก็เรียกว่า "ธรรม" ทั้งสิ้น สิ่งที่เป็น รูปธรรม หรือ นามธรรม ที่ถูกสร้างขึ้น ย่อมตั้งอยู่ชั่วคราว เพราะมีสภาพเป็น ความเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา จนกระทั่งดับไปในที่สุด จัดเป็นธรรมที่ไม่แท้ เป็นมายาหลอกลวง เป็นส่วนของ สังขตธรรม หรือ สังขารธรรม ครั้นรู้จัก สังขารธรรม ตามเป็นจริง จะทำให้เกิด ความเบื่อหน่าย ทำให้มีการแสวงหา "ธรรมที่แท้" อันเป็น อสังขตธรรม หรือ วิสังขารธรรม นั่นคือ วิถีทาง ที่จะนำไปให้พบกับ "ไกวัลยธรรม" ในที่สุด (๘๔)
เมื่อจิตเข้าถึงไกวัลยธรรม แม้ชั่วขณะหนึ่ง จิตก็จะพลอยเป็นอย่างนั้น ไปด้วย ถ้าเป็นการเข้าถึงอย่างถาวร จิตก็ย่อมมีความ สะอาด สว่าง สงบ อย่างถาวร ไม่มีการเกิดขึ้น ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป แต่กลับมีอยู่ ตลอดอนันตกาล (๘๕)
รู้จักธรรมะจริง แล้วจะหยุดลง
เมื่อรู้ว่า "ธรรมะ" ฝ่ายที่จริงแท้ ไม่หลอกลวง เป็นอสังขตะ เป็นวิสังขาร เรียก "นิพพาน" มีอยู่ ก็จะทำให้มีการ ถอนตัว จากความหลงรัก ในสิ่งที่หลอกลวง ถอนตัวจากอารมณ์ ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อันเป็นที่ตั้งของ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เมื่อสามารถถอนตัว ออกมาได้ ก็จะทำให้พบธรรมะที่แท้ อันเป็นสิ่งที่ไม่หลอกลวง ได้แก่ "ไกวัลยธรรม" ซึ่งเป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้า ก็ยังทรงเคารพ (๘๖)
เมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ทรงปรารภว่า การที่บุคคลจะเป็นอยู่ โดยปราศจาก สิ่งเคารพ ย่อมไม่สมควร ในที่สุด ทรงพบว่า สิ่งที่พระองค์พึงทรงเคารพ ได้แก่ พระธรรม ที่ตรัสรู้แล้ว และปรากฏว่า มีพระพรหม มาทูลรับรองว่า พระพุทธเจ้า ในอดีต ทุกพระองค์ ก็ทรงเคารพ พระธรรม พระพรหม ในที่นี้ หมายถึง ความรู้สึก ของพระองค์นั่นเอง (๘๗)
ไกวัลยธรรม
เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเคารพ
ไกวัลยธรรม ก็คือ ธรรมในฐานะที่เป็นกฏ เป็นสัจจธรรม เป็นสิ่งที่ไม่หลอกลวง เพราะเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งที่ พระพุทธเจ้าทรงเคารพ อันมีชื่อเรียก ไปตาม ความหมายเฉพาะ ดังนี้คือ ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา ธัมมัฏฐิตตา ธรรมนิยามตา อันเป็นการแสดงถึง คุณลักษณะของ ธรรม ที่แท้ (๘๘)
ขอให้ทุกท่านได้สนใจ ในธรรมที่พระพุทธเจ้า ก็ยังทรงเคารพ อันเป็นธรรมที่แท้ เรียก "ไกวัลยธรรม" ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมอย่างยิ่ง "เหนือสิ่งอื่นใด" (๘๙)
" พุทธทาส ภิกขุ "
(ไกวัลยธรรม ตอนที่ ๒ จบ)
GE #siamstr
ระหว่างไกวัลยธรรมกับสิ่งเกิดใหม่
คู่ที่ ๑ ธรรมะดั้งเดิม กับ ธรรมะแปรรูป ธรรมดั้งเดิม คือ กฏอันเด็ดขาด เป็นปกาสิตอันเฉียบขาด ของพระเจ้า แล้วจากกฏนี้ มันแปรรูป ออกมาเป็น รูปธรรม นามธรรม สิ่งที่ออกมาจากกฏ และเป็นไปตามกฏ เรียก "ธรรมะแปรรูป"
ไกวัลยธรรม คือ ธรรมะดั้งเดิม สิ่งที่แปรรูปออกมา เป็น "ธรรมะแปรรูป". (๖๖)
คู่ที่ ๒ ธรรมแท้ กับ ประกายธรรม ธรรมแท้ คือ ธรรมะแม่ อันเป็นสิ่งที่ไม่รู้จักหมด และไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง ตามความหมายของคำว่า "ไกวัลย์" ทีนี้ ธรรมะลูก เป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมะแม่ มีมากมายนับไม่ถ้วน เปรียบประกายไฟ ที่เกิดจาก สิ่งสองสิ่งกระทบ หรือ เสียดสีกัน สิ่งที่ถูกกระทบเป็นแม่ ประกายไฟเป็นลูก. (๖๗)
คู่ที่ ๓ ธรรมปฐมเหตุ กับ ธรรมนานาผล ธรรมอันเป็นปฐมเหตุ ได้แก่ กฏที่เรียกว่า ตถาตา อวิตถตา อนัญญถตา ธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา นี่คือ ปฐมเหตุ อันมีอยู่ก่อนสิ่งใด นอกนั้น เป็น นานาผล นานาประการ อันเกิดขึ้น และ ตั้งอยู่ ในปฐมเหตุนั้น ปฐมเหตุมีหนึ่งเดียว เรียก "ไกวัลยธรรม" ส่วนผลนั้น มีมากมาย สุดคณานับ (๖๘)
คู่ที่ ๔ อาทิธรรม กับ นิรมานธรรม อาทิธรรม หมายถึง ธรรมทีแรก หรือ เบื้องต้น นี่เป็นธรรมตายตัว แล้วปรากฏออกมาเป็น นิรมานธรรม คือ ธรรมที่บิดเบือน หรือ เปลี่ยนแปลง เมื่อมีการปรุงสิ่งนี้ขึ้นมา สิ่งนั้นก็ปรุงสิ่งอื่นต่อไป ไม่สิ้นสุด จนกว่า จะดับลงทั้งหมด ก็จะเหลือแต่ อาทิธรรม (๖๙)
ร่างกาย จิตใจ มันสมอง ความคิด ความรู้ เหล่านี้ก็เป็น นิรมานธรรม ครั้นเมื่อ มันรู้จักตัวเองว่า สักแต่ว่าเป็น นิรมานธรรม จะทำให้มีการ ปล่อยวาง นิรมานธรรม ทั้งหมด เป็นการเข้าถึง "อาทิธรรม" อันเป็น ผู้ให้กำเนิด หรือ เป็นพ่อแม่แห่งตน (๗๐)
อาทิธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งทั้งหลาย ที่ปรากฏเป็น นิรมานธรรม อันเป็นเพียง ปฏิกิริยา ของสิ่งที่มีการกระทบกัน ย่อมเปลี่ยนแปลง เปรียบลมกระทบผิวน้ำ ให้เกิดคลื่น น้ำเป็นอาทิธรรม คลื่นเป็นนิรมานธรรม (๗๑)
หลักเกณฑ์อันนี้ มีความหมาย คล้ายกันมาก ระหว่างทางวัตถุ กับ ทางนามธรรม
- ทางวัตถุธรรม ดวงอาทิตย์ เป็นต้นกำเนิด ของจักรวาล ของโลก และ ของสิ่งทั้งปวง ที่ปรากฏอยู่ในโลก
- ทางนามธรรม มีตัวธรรมะเดิมแท้ ที่มั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็น อมตธรรม ตั้งอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่มีช่องว่างชั่วนิรันดร อันเป็นที่ตั้ง รองรับ ของ ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีฐานะ เป็นเพียง ประกายธรรม หรือ ปฏิกิริยา ตั้งอยู่ในฐานะเป็น อันตรธรรม คือ ธรรมชั่วคราว มีการเกิดขึ้นแล้วดับไป
"นิรันดร" เปรียบได้กับ "ไกวัลยธรรม". (๗๒)
ผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง เป็นสิ่งเดียวกัน
ต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง เรียกผู้สร้าง แต่ไม่ปรากฏตัว ส่วนสิ่งที่ปรากฏ ได้แก่ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ด้วยฝีมือของผู้สร้าง ดังที่กล่าวว่า "พรหมเป็นโยนีของสิ่งทั้งปวง" คือ เป็นที่คลอดออกมาของสิ่งทั้งปวง นั่นคือ ไกวัลยธรรมเป็นแม่ สิ่งนอกนั้นเป็นลูก คือสิ่งที่ถูกคลอดออกมา. (๗๓)
สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา ย่อมได้รับการบัญญัติ ตามลักษณะที่เป็นอยู่ เช่นการบัญญัติ เรื่องธาตุ๖ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุเหล่านี้ จัดเป็น สังขตธาตุ ดังนี้เป็นต้น. (๗๔)
เมื่อมีปรากฏการณ์ขึ้นแล้ว ย่อมมีอาการเป็น ความเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมถูกบัญญัติ โดยอาการว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วก็มีการบัญญัติ ตามลักษณะ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อันเป็น ลักษณะของความทุกข์ ครั้นมองเห็น สภาวะทุกข์ ตามเป็นจริง ก็เกิดการแสวงหาทางพ้น ทำให้ได้พบ แนวทางของการปฏิบัติ จึงได้มีการบัญญัติเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา จนเกิดเป็นมรรค ผล นิพพาน ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของการบัญญัติ ทั้งสิ้น เพราะ มิได้เป็นอยู่เอง อย่างตายตัว เหมือนสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมธาตุ" หรือ "ไกวัลยธรรม". (๗๕)
การรู้จักแยกว่า สิ่งใดเป็นผู้สร้าง สิ่งใดเป็นผู้ถูกสร้าง ย่อมทำให้เกิดวิชชา มีแสงสว่าง ที่จะทำให้เกิด การกระทำที่ถูกต้อง สิ่งที่ปรากฏทั้งหมด เป็นผล อันเนื่องมาจากไกวัลยธรรม เมื่อสาวจากผลไปหาเหตุ คือปฐมเหตุ ย่อมพบสิ่งเดียวกัน นั่นคือ ไกวัลยธรรม (๗๖)
ปัญหาเกิดขึ้นมาว่า "ไกวัลยธรรม" จะพบได้ที่ไหน คำตอบคือ จะพบได้ใน ทุกสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เพราะ ในธรรมชาติทั้งหลาย ย่อมมี กฏธรรมชาติ ควบคุมอยู่ ในทุกปรมาณู หรือ ทุกเซลล์ ที่ประกอบกันขึ้น เป็นร่างกายของคน คนหนึ่ง ย่อมมีกฏ มีสิ่งที่เรียกว่า "กฏ" อยู่ในนั้น มันจึงบังคับสิ่งนั้น ให้เป็นไปตามกฏ. (๗๗)
จิตใจที่สกปรก มืดมัว เร่าร้อน มันก็เป็นไปตามกฏ จิตใจที่ สะอาด สว่าง สงบ ก็เป็นไปตามกฏ ฉะนั้น สิ่งที่เป็นไปตามกฏนั้น มีมากมายนับไม่ถ้วน แต่มันจะรวมอยู่ที่คำ คำเดียว คือ "กฏ" (๗๘)
ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงถึง ความหมาย ของสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ๒ ประการ คือ
๑. เป็นสิ่งเดียวโดด
๒. แบ่งแยกละเอียดถี่ยิบนับไม่ไหว (๗๙)
ความหมายของทั้งสองสิ่งนี้ ไม่แตกต่างกันเลย แต่มองคนละจุด ข้อแรก มองที่ ปฐมเหตุ ข้อสอง มองที่สิ่งทั้งปวง อันถูกสร้างขึ้น ที่แท้ มันเป็นอันเดียวกัน ทั้งผู้สร้าง และสิ่งที่ถูกสร้าง ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ จะทำให้กลับไปหา ผู้สร้างได้ โดยอาศัย สิ่งที่ถูกสร้าง เป็นทางนำ (๘๐)
ทุกสิ่งออกมาจากกฏเดียวกัน
ทั้งรูปธรรมนามธรรม
สิ่งที่เรียกว่า "กฏ" ได้แก่ "ไกวัลยธรรม" หมายถึง สิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่มีอยู่ในที่ทั่วไป และสิ่งที่เป็น สิ่งเดียวกันหมด ทุกหนทุกแห่ง มีชื่อเรียก ต่างๆกัน ดังนี้
ตถตา ความเป็นอย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
อวิตถตา ความที่ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อนัญญถตา ความเป็นสิ่งที่กลายเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ธัมมัฏฐิตตา เป็นการตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมนิยามตา เป็นบทนิยามแห่งธรรม
อิทัปปัจจยตา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น (๘๑)
สิ่งนี้แม้จะมีชื่อเรียกมากมาย แต่รวมแล้วก็มีความหมาย อย่างเดียว ตามความหมาย ของ "ไกวัลยธรรม"
ไกวัลยธรรม เป็นทั้งตัวกฏ และเจ้าของแห่งกฏ ดังที่กล่าวว่า พระเจ้าคือกฏ กฏคือพระเจ้า และสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ย่อมอยู่ในกฏของพระเจ้า นี่คือส่วนของ นามธรรม นักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า "กฏของธรรมชาติ" ธรรมชาติ ก็คือ กฏ และ กฏก็คือธรรมชาติ นี่เป็นส่วนของรูปธรรม ทั้งพระเจ้าผู้สร้าง และ ธรรมชาติ ซึ่งถูกสร้างขึ้น ที่แท้ ก็คือ สิ่งเดียวกัน ได้แก่ "ไกวัลยธรรม" (๘๒)
ชีวิตของคนเรา ออกมาจากสิ่งนี้ โดยสิ่งนี้ และเป็นไปตามอำนาจ ของสิ่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ชั่วขณะหนึ่ง เท่านั้น เมื่อเทียบกับ ความยิ่งใหญ่ ของไกวัลยธรรม แล้ว การมีชีวิตอยู่แม้สัก ๑๐๐ ปี ก็เรียกได้ว่า ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง เปรียบคนกับโลก ก็เห็นได้ว่า คน เป็นเพียงขี้ฝุ่น ของโลก เท่านั้น แต่ ไกวัลยธรรม มีความยิ่งใหญ่ ขนาดเป็น ที่รวม ที่บรรจุ ของทุกโลก ทุกจักรวาล แล้วลองเปรียบเทียบเองว่า คน มีขนาดเท่าไหน เมื่อเทียบกับไกวัลยธรรม ฉะนั้น คนอย่าอวดดีไปว่า "ข้าเป็นนั่นเป็นนี่" ที่แท้ เป็นสิ่งไร้ความหมาย อย่างสิ้นเชิง (๘๓)
ทบทวนความหมายของคำว่า "ธรรม"
คำว่า "ธรรม" แปลว่า "ทรงอยู่" ทั้งที่ทรงอยู่อย่างชั่วคราวและทรงอยู่อย่างถาวร เป็นอนันตะ ก็เรียกว่า "ธรรม" ทั้งสิ้น สิ่งที่เป็น รูปธรรม หรือ นามธรรม ที่ถูกสร้างขึ้น ย่อมตั้งอยู่ชั่วคราว เพราะมีสภาพเป็น ความเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา จนกระทั่งดับไปในที่สุด จัดเป็นธรรมที่ไม่แท้ เป็นมายาหลอกลวง เป็นส่วนของ สังขตธรรม หรือ สังขารธรรม ครั้นรู้จัก สังขารธรรม ตามเป็นจริง จะทำให้เกิด ความเบื่อหน่าย ทำให้มีการแสวงหา "ธรรมที่แท้" อันเป็น อสังขตธรรม หรือ วิสังขารธรรม นั่นคือ วิถีทาง ที่จะนำไปให้พบกับ "ไกวัลยธรรม" ในที่สุด (๘๔)
เมื่อจิตเข้าถึงไกวัลยธรรม แม้ชั่วขณะหนึ่ง จิตก็จะพลอยเป็นอย่างนั้น ไปด้วย ถ้าเป็นการเข้าถึงอย่างถาวร จิตก็ย่อมมีความ สะอาด สว่าง สงบ อย่างถาวร ไม่มีการเกิดขึ้น ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป แต่กลับมีอยู่ ตลอดอนันตกาล (๘๕)
รู้จักธรรมะจริง แล้วจะหยุดลง
เมื่อรู้ว่า "ธรรมะ" ฝ่ายที่จริงแท้ ไม่หลอกลวง เป็นอสังขตะ เป็นวิสังขาร เรียก "นิพพาน" มีอยู่ ก็จะทำให้มีการ ถอนตัว จากความหลงรัก ในสิ่งที่หลอกลวง ถอนตัวจากอารมณ์ ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อันเป็นที่ตั้งของ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เมื่อสามารถถอนตัว ออกมาได้ ก็จะทำให้พบธรรมะที่แท้ อันเป็นสิ่งที่ไม่หลอกลวง ได้แก่ "ไกวัลยธรรม" ซึ่งเป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้า ก็ยังทรงเคารพ (๘๖)
เมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ทรงปรารภว่า การที่บุคคลจะเป็นอยู่ โดยปราศจาก สิ่งเคารพ ย่อมไม่สมควร ในที่สุด ทรงพบว่า สิ่งที่พระองค์พึงทรงเคารพ ได้แก่ พระธรรม ที่ตรัสรู้แล้ว และปรากฏว่า มีพระพรหม มาทูลรับรองว่า พระพุทธเจ้า ในอดีต ทุกพระองค์ ก็ทรงเคารพ พระธรรม พระพรหม ในที่นี้ หมายถึง ความรู้สึก ของพระองค์นั่นเอง (๘๗)
ไกวัลยธรรม
เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเคารพ
ไกวัลยธรรม ก็คือ ธรรมในฐานะที่เป็นกฏ เป็นสัจจธรรม เป็นสิ่งที่ไม่หลอกลวง เพราะเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งที่ พระพุทธเจ้าทรงเคารพ อันมีชื่อเรียก ไปตาม ความหมายเฉพาะ ดังนี้คือ ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา ธัมมัฏฐิตตา ธรรมนิยามตา อันเป็นการแสดงถึง คุณลักษณะของ ธรรม ที่แท้ (๘๘)
ขอให้ทุกท่านได้สนใจ ในธรรมที่พระพุทธเจ้า ก็ยังทรงเคารพ อันเป็นธรรมที่แท้ เรียก "ไกวัลยธรรม" ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมอย่างยิ่ง "เหนือสิ่งอื่นใด" (๘๙)
" พุทธทาส ภิกขุ "
(ไกวัลยธรรม ตอนที่ ๒ จบ)
GE #siamstr