นิทานเรื่อง “อกหักเพราะรัก Bragg”
เริ่มต้นจากการที่ผมเห็นเห็นสติ๊กเกอร์ product of usa มาแปะทับตราสัญลักษณ์ Non-GMO ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของ bragg มาโดยตลอด
จนค่อยๆค้นข้อมูลไปพบประกาศว่า ในปี 2019 นักร้องดัง Katy และหุ้นส่วนของเธอ Orlando Bloom ได้ลงทุนใน Bragg พร้อมกับนักลงทุนรายอื่น ๆ รวมถึง Swander Pace Capital, Dragoneer Investor Group และ Hayden Slater ผู้ก่อตั้ง Pressed Juicery
ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเจ้าของ แต่คุณ Patricia Bragg ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทมานานกว่า 60 ปี ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำและรักษาวิสัยทัศน์ของแบรนด์
แต่ข่าวลือต่างๆเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น ไม่ว่าจะสีที่ดูอ่อนลง รสชาติที่ไม่บาดคอเหมือนเก่า หรือแม้แต่ การใส่“น้ำ” ลงไปในรายการส่วนประกอบสำคัญในฉลาก(การลงข้อมูลในส่วนนี้หมายถึงการเติมน้ำลงไป) แม้จะมีคำตอบบางอย่างออกมาจากทางผู้ผลิตแล้วก็ตาม แต่ยังเป็นคำตอบที่คลุมเคลือ จนทำให้แฟนๆ acv หลายกลุ่มเริ่มปฎิเสธที่จะบริโภคมันต่อไป
ความสัมพันธ์ที่ไม่ธรรมดา ระหว่าง katy และ Patricia Bragg นั้น เบื้องหลังคือ Katy เติบโตขึ้นมาในระแวกเดียวกันกับบ้านของ Patricia และพวกเขาไปโบสถ์เดียวกันด้วย แถมแพทริเซียยังเป็นคนที่ให้กีตาร์ตัวแรกแก่เคธี่ คือในความจริงนั้นพวกเขาติดต่อกันอยู่เสมอๆ ดังนั้น connection ระหว่างพวกเขาจึงไม่ธรรมดา ในการเข้าซื้อ bragg
แต่
ด้วยความสับสนในเรื่องตราสัญลักษณ์ non GMO จึงมีคนเริ่มเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง katy กับบริษัทอื่นๆที่เธอลงทุน Apeel Science เป็นหนึ่งในนั้น
Apeel Sciences ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีเคลือบผิวผลไม้และผักด้วยวัสดุบางอย่างเพื่อช่วยยืดอายุความสดใหม่ของผลผลิตและลดของเสียจากอาหาร เทคโนโลยีนี้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน ช่วยให้ผักผลไม้ยืดอายุได้นานขึ้น
Apeel นั้นได้ระดมทุนมากกว่า 635 ล้านดอลลาร์ในรอบการระดมทุนต่าง ๆ และบริษัทมีมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์ และ บริษัทนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ของ Bill Gates
แม้มีความเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่นในวงจรขององค์กรที่มี Katy ลงทุนร่วมกับนักลงทุนที่มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ เช่น Oprah Winfrey ก็ได้ลงทุนในบริษัทนี้เช่นกัน แต่ก็ได้รับการปฎิเสธจาก bragg ว่าไม่ได้ใช้เทคโนโลยี Apeel Science
อย่างไรก็ตามยังมีคนขุดเบื้องลึกของ Apeel ออกมาว่า เธอกับ Bill Gates อาจมีการสั่งซื้อแอปเปิ้ลหรือการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับโครงการดัดแปรพันธุกรรม (GMO) แอปเปิ้ล จากการมีส่วนร่วมของพวกเขาในการสนับสนุนพันธกิจของ Apeel ซึ่งแน่นอนว่า มีการออกมาปฎิเสธข่าวนี้เช่นเคย ว่าไม่ได้ใช้แอปเปิล GMO
อย่างไรก็ตามจากการตัดสินใจของ Bragg ที่จะติดสติ๊กเกอร์ทับหรือยกเลิกคำว่า “non-GMO” บนขวดน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล (ACV) ของพวกเขา ทำให้เกิดการตีความที่หลากหลาย โดยเฉพาะที่ว่า
ข้อกำหนดทางกฎหมายที่ทำให้ ACV ของ Bragg ไม่ถือเป็น GMO นัันเกิดจาก กฎหมายการเปิดเผยข้อมูลอาหารที่มีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมของ USDA ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022
กฎหมายนี้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมหรือมีส่วนผสมที่ปรับเปลี่ยนพันธุกรรมต้องแสดงฉลากที่ชัดเจน โดยใช้คำว่า “bioengineered” แทนคำว่า “GMO”
อาหารที่ถือว่าต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมจะต้องมีการตรวจสอบว่ามีวัสดุพันธุกรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนด้วยเทคนิคทางห้องปฏิบัติการ (rDNA techniques) ซึ่งสิ่งนี้จะแตกต่างกับสมัยก่อน
พูดง่ายๆคือ สมัยก่อนเราจะดูป้ายที่สินค้าประกาศกร้าวว่า ฉันนี่แหละ non-GMO ลูกค้าก็จะมั่นใจ แต่ ตัวใหม่นี้มันจะเป็นการติดฉลากคำว่า bioengineered แทน หมายถึงสินค้าต้องออกมาบอกว่า ฉันนี่แหละ GMO พอมันสวนทางกับสมัยก่อน คนก็จะระแวงสับสนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าไปดูในข้อปฎิบัติแล้ว มันเสมือนมีช่องว่างไว้ให้เล่นแร่แปรธาตุได้
เพราะการที่ผลิตภัณฑ์ไม่ติดฉลาก “bioengineered” ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรมเสมอไป แต่อยู่ภายใต้กฎข้อบังคับของกฎหมายว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลอาหารที่ตัดแต่งพันธุกรรมของสหรัฐฯ (National Bioengineered Food Disclosure Law)
กฎหมายนี้ระบุว่าผลิตภัณฑ์ที่ต้องติดฉลาก “bioengineered” คือผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับแต่ง DNA โดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) และยังคงมีวัสดุพันธุกรรมที่สามารถตรวจพบได้ในผลิตภัณฑ์”ขั้นสุดท้าย“ คุ้นๆไหมครับกับที่ผมเคยเล่าให้ฟังเรื่อง กรดซิตริกที่ผลิตจากราดำ GMO
อย่างไรก็ตาม หากผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีการปรับแต่ง DNA ที่สามารถตรวจพบได้ (เช่น ผ่านกระบวนการที่ทำให้วัสดุพันธุกรรมหายไป) หรือหากส่วนผสมนั้นได้จากแหล่งที่ไม่ถือว่าเป็น “bioengineered” ตามกฎหมาย บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก
ดังนั้น การที่ผลิตภัณฑ์ไม่ติดฉลาก “bioengineered” ก็เลยเป็นไปได้ทั้งว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม หรือในบางกรณีอาจมีการหลีกเลี่ยงข้อบังคับ โดยใช้ส่วนผสมที่ไม่ถือว่าต้องเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ยกตัวอย่างสมมติ การใช้แอปเปิล Arctic ที่เป็น GMO list มาหมัก ACV อาจไม่ทำให้ตรวจพบการดัดแปลงพันธุกรรมในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย เนื่องจากกระบวนการหมักอาจทำให้ DNA ของแอปเปิลไม่เหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการตรวจสอบขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น วิธีการผลิตและการทดสอบที่ใช้ด้วยนะครับ แล้วถ้ามีการใช้แอปเปิลที่ GMO พันธุ์อื่นวิธีการอื่น
ป้าย non-GMO ที่ประกาศว่าสินค้านี้ “ไม่มี” VS ป้าย bioengineered ที่ประกาศว่าสินค้านี้ “มี”
ทำให้การที่ acv bragg ไม่มีตรา bioengineered ผู้บริโภคกลับได้ความรู้สึกที่ต่างกัน จาก non-GMO โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลสืบค้นง่ายและความสัมพันธ์หลายๆอย่าง มันมีความเคลือบแคลงทับซ้อน
ตามที่ข้อมูลบอกคือเรื่อง Apeel Sciences และไร่แอปเปิ้ลของ Bill Gates ที่ทาง Katy มีความสัมพันธ์ที่น่าสงสัยเป็นปูมหลัง ผู้บริโภคจึงเชื่อว่านี่คือความลับของดีลนี้
นอกจากนี้ ตัวสินค้าเอง ก็ถูกตั้งคำถามหลายอย่าง โดยเฉพาะ การพบว่ามี “น้ำ” เข้าไปเป็นรายการในส่วนประกอบสำคัญของฉลากรุ่นฝหม่ ในขณะที่เมื่อก่อนจะเป็น Organic Raw Apple Cider Vinegar
คำตอบที่ได้รับจาก bragg คือในมีการเติมน้ำเข้าไปจริงๆ และมีการเติมมานานแล้ว เพราะเขาต้องการควบคุมระดับของ กรดให้อยู่ที่ 5% เท่ากันทุกขวด เพราะความเป็น “ธรรมชาติ” กรดที่ได้อาจอยู่ในระดับ 5.2% 5.4% หรือบางทีก็ 6% แต่ผู้บริโภคมักต้องการตัวเลขเท่ากันทุกครั้ง การเติมน้ำลงไปจึงทำให้ได้กรด 5% ทุกครั้งตามที่ผู้บริโภคต้องการ
ขณะที่ผู้บริโภคแย้งว่า เขาควรได้รับ acv แบบเป็น “ธรรมชาติ” จริงๆ และสิทธิ์การเจือจางควรเป็นของผู้บริโภค ไม่ใช่การได้ acv แบบผสมน้ำมาแล้วเช่นนี้
จึงทำให้ข่าวลือในการใช้ apple ตัดต่อพันธุกรรมของ Bill Gates มีการพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ และคำตอบปฎิเสธจาก bragg กลายเป็นไม่น่าเชื่อถือ
ในความเห็นของผมคือ เท่าที่หาฉลากรุ่นเก่า ปรากฎว่า ไม่มีคำว่า water จริงๆ แต่ใส่คำว่า diluted to 5% acidity (เจือจางให้อยู่ที่ 5%) แสดงว่ามีการเติมน้ำลงไปนานแล้วจริงๆ
แม้จะมีเสียงจากผู้บริโภคบางส่วนออกมาบอกว่า “ใครๆก็ทำ”
แต่นั่นทำให้ผู้บริโภคอีกส่วนยิ่งรู้สึกว่าโดนหลอก ในขณะที่แบรนด์ Fairchild ออกมาให้ข้อมูลเลยว่า เป็นธุรกิจที่เจ้าของเป็นครอบครัว ใช้แอปเปิลไม่ตัดต่อพันธุกรรม วอชิงตัน ผลิตบรรจุและส่งในที่เดียว เป็น acv raw &unfiltered และที่สำคัญคือ “ไม่ผสมน้ำลงไป” โดยให้ผู้บริโภคเจือจางความต้องการด้วยตัวเอง ทำให้ช่วงหลังกระแสได้เทไปยัง Fairchild อย่างท่วมท้น
นอกจากนี้ยังมีปัญหา สีที่อ่อนลงอย่างชัดเจนประกอบเข้ามาอีก
โดยคำตอบที่ได้รับคือ ในการผลิต acv จะมีการใช้แอปเปิลหลายพันธุ์ทำให้มีสีแตกต่างกัน รวมถึงการอยู่บนชั้นแบบไม่ได้ขยับเขยื้อนนานๆ จะเกิดการตกตะกอนของ mother ทำให้ดูเหมือนจะสีอ่อนลง
แต่
มีผู้บริโภคจำนวนมากแย้งและทดสอบ นั่นคือ มีการทดสอบเขย่าขวด 2 ล็อต ที่อยู่ในห้างเดียวกัน วางใกล้ๆกัน ไม่ปรากฎว่าจะเข้มขึ้นแบบที่ควรเป็น
นั่นทำให้ข่าวเรื่องการเปลี่ยนแอปเปิล ยิ่งตอกตะปูลงชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก
เพราะนอกจากเรื่อง acv แล้วหากขยับออกมามองความสัมพันธ์ของกลุ่มทุนต่างๆ ไม่ว่าจะ katy perry, bill gates หรือแม้แต่ blackrock หรือออกไปถึงกับสิ่งที่เรียกว่า ABCD+ มันคือการครอบงำบางอย่าง ไม่ให้เรารู้เท่าทันมันนั้นเอง (ไปสืบต่อเองนะครับ follow the rabbit)
One More Thing
ฮาๆๆ เลียนแบบสตีฟจ๊อบส์ ของเด็ดปิดท้ายคือ acv ทุกชนิดไม่ได้มีจุลินทรีย์ โพรไบโอติกส์ ครับ ในปี 2000 มีข้อมูลว่า
โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้ แต่พวกมันมีความไวต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ โดยกรดอะซิติก ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำส้มสายชูนั้น สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด ที่ไม่เหมาะสมสำหรับการมีชีวิตของโพรไบโอติกส์ แม้ว่าจุลินทรีย์บางสายพันธุ์จะทนต่อความเป็นกรดได้บ้าง แต่ความเข้มข้นของกรดอะซิติก เช่นในน้ำส้มสายชู (รวมถึง acv) นั้นทำให้โพรไบโอติกส์ตาย
แม้แต่ในไทยเอง ก็เคยมีสมาชิกองค์กรด้านการหมัก ทำการทดลองย้อมสีหาเชื้อโพรไบโอติกส์ในอาหารหมักสุดฮิตอย่างชาหมัก ก็ไม่พบการติดสีที่บ่งบอกความเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เช่นกัน
แล้วกรดชนิดไหนจึงจะทำให้โพรไบโอติกส์มีชีวิตอยู่ได้? ตามข้อมูลได้อธิบายว่า กรดแลคติก ครับ โพรไบโอติกส์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Lactobacillus มีความทนทานต่อกรดแลคติกได้ดี ซึ่งเป็นองค์ประกอบทั่วไปในอาหารหมักหลายๆอย่าง เช่น นมหมัก ถั่วหมักนัตโตะ เทมเป้ รวมถึงผักกาดขาวอย่างกิมจิ พวกมันสามารถมีชีวิตรอดในสภาพกรด ที่มีค่า pH ประมาณ 4.0 ถึง 5.0
สำหรับกรดในกระเพาะอาหารนั้น โพรไบโอติกส์ สายพันธุ์อย่าง Lactobacillus และ Bifidobacterium อาจแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถในการอยู่รอดในสภาพกรดของกระเพาะอาหาร (pH 1.5 ถึง 3.5) บางส่วนได้ แม้ว่าจะต้องมีการป้องกันเพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอด เช่น การใช้เทคโนโลยีเคลือบแบบพิเศษหรือการบรรจุหุ้ม แต่การกินเข้าไปเปล่าๆไม่ผ่านการเคลือบป้องกัน แล้วต้องผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารนั้น โอกาสรอดยากครับ
ในกรดน้ำส้มนั้นเป็นจุลินทรีย์ดีก็จริงแต่ไม่ใช่โพรไบโอติกส์ครับ จุลินทรีย์ดีคือจุลินทรีย์ที่ไม่ได้ก่อโรค ต้องแยกระหว่าง ตัวดี กับ โพรไบโอติกส์ครับ เพราะโพรไบโอติกส์ทุกตัวเป็นจุลินทรีย์ดี แต่จุลินทรีย์ดีไม่ได้เป็นโพรไบโอติกส์ทุกตัว
ความดีของจุลินทรีย์ดีคือเราได้กรดน้ำส้ม มาบริโภคเพื่อประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่โพรไบโอติกส์
ดังนั้นที่เคยถามไว้นั้น ใครให้คำตอบว่า หวังโพรไบโอติกส์ อาจต้องอกหักแล้วครับ
ปล ส่วนที่หวังเรื่อง ลดความดัน ลดน้ำตาล ลดการ spike ฯลฯ ผม no comment นะครับ โพสนี้พูดเพราะ
ปล ที่คนเห็นว่า bragg ถูกกลุ่มทุนที่มี katy perry เข้าซื้อ จนมีการจับตามองนั้นเพราะ katy มีวีรกรรมเยอะครับ ไม่ว่าจะ
ตอนที่ Katy และ Orlando Bloom มีปัญหาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อบ้านจาก Carl Westcott นักพยากรณ์ที่ยื่นฟ้องร้อง Katy โดยกล่าวหาว่าเขาถูกกดดันให้ขายบ้านในขณะที่ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ดีเนื่องจากผลข้างเคียงจากการผ่าตัดทางการแพทย์ คดีนี้กลายเป็นข่าวใหญ่และสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ทางธุรกิจของเธอในบางมุม หรือ แบรนด์น้ำหอมและสินค้าแฟชั่นที่แม้ว่า Katy จะประสบความสำเร็จในธุรกิจน้ำหอมและแฟชั่นในช่วงต้น แต่หลังจากนั้นสินค้าบางรายการของเธอกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ของคุณภาพและการออกแบบ ซึ่งอาจทำให้ชื่อเสียงของเธอในฐานะผู้ประกอบการได้รับผลกระทบในทางลบค่อนข้างมาก หรือแม้แต่ การร่วมงานกับ Dr. Luke นั้น Katy ถูกวิจารณ์อย่างหนักเมื่อเธอยังคงร่วมงานกับ Dr. Luke โปรดิวเซอร์เพลงที่เคยถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศโดย Kesha แม้จะมีข้อกล่าวหานี้ Katy ยังคงทำงานกับเขา ซึ่งนำไปสู่การถูกกล่าวหาว่าไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมบันเทิง เบื้องหลังเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคต่างตั้งคำถามใน acv bragg อย่างไม่ยั้งนั่นเอง
#siamstr #pirateketo