สมองเล็ก เต็ดเดียว on Nostr: ...
ประชาธิปไตยในสมัยเอเธนส์โบราณ
ในยุค 500 ปีก่อนคริสตกาล นครรัฐ ”เอเธนส์ (Athens)” ได้เริ่มปูพื้นฐานระบอบการเมืองแบบใหม่
ระบอบการปกครองนี้เรียกว่า “Demokratia” เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยตรงที่มอบอำนาจทางการเมืองแก่พลเมืองเพศชายชาวเอเธนส์ที่เป็นอิสระ ไม่ใช่แค่ให้อำนาจปกครองแก่กลุ่มชนชั้นนำหรือเผด็จการ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในเอเธนส์มาหลายร้อยปีแล้ว
ระบอบ Demokratia ในเอเธนส์ ซึ่งใช้มาจนถึง 322 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของระบอบประชาธิปไตย ทรงอิทธิพลในแถบเมดิเตอเรเนียน และยังเป็นเหมือนต้นแบบแก่ระบอบการเมืองในนครรัฐอื่นๆ ของกรีกและสาธารณรัฐโรมัน
เผด็จการคนสุดท้ายที่ปกครองเอเธนส์คือ “ฮิปเปียส (Hippias)” ซึ่งได้หนีออกจากเมืองไปเมื่อ ”สปาร์ตา (Sparta)” ได้บุกมาเมื่อ 510 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนที่อีก 2-3 ปีต่อมา ขุนนางชาวเอเธนส์ที่ชื่อ “ไคลส์ธินีส (Cleisthenes)“ จะริเริ่มการปฏิรูประบอบประชาธิปไตย
หลังจากนั้นอีกหลายสิบปี ก็ได้มีการปฏิรูปที่ทำให้การปกครองระบอบนี้แพร่หลาย และก็มีประเด็นว่าจะนับยังไงว่าใครคือ “พลเมืองเอเธนส์”
การจะมีส่วนในระบอบ Demokratia บุคคลนั้นจะต้องเป็นชาวเอเธนส์เพศชาย และต้องเป็นบุคคลอิสระ ซึ่งในระยะเริ่มต้นของประชาธิปไตย ชายชาวเอเธนส์ก็คือบุคคลที่มีบิดาเป็นชาวเอเธนส์และมารดาเป็นบุคคลอิสระ
เมื่อถึงช่วงกลางยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ก็ได้มีการแก้กฎหมาย กำหนดว่ามีเพียงชายที่มีบิดามารดาเป็นชาวเอเธนส์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นพลเมืองเอเธนส์
ในเวลานั้นยังไม่มีสูติบัตร การตรวจดีเอ็นเอก็ยังไม่มี ดังนั้นชายหนุ่มชาวเอเธนส์ที่ต้องการจะเข้าสู่วงการเมือง ก็ต้องเริ่มจากการที่ให้ผู้เป็นบิดาแนะนำตนสู่หน่วยการเมือง สาบานตนว่าบุคคลผู้นี้คือบิดาของตนจริงๆ
ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์นั้นค่อนข้างจะไม่ใช่การเลือกผู้แทน หมายถึงว่าชายชาวเอเธนส์จะเป็นผู้จัดการประชุมขึ้นมาเอง โดยคาดการณ์ว่าในยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล จำนวนชายชาวเอเธนส์น่าจะมีอยู่ประมาณ 30,000 คน โดยจำนวน 5,000 คนนั้นอาจจะเป็นผู้ที่เข้าประชุมเป็นประจำ
อันที่จริง ก็มีตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ที่เปิดให้ชายชาวเอเธนส์เข้ามามีส่วนร่วม ถึงแม้ว่าความร่ำรวยและสถานะครอบครัวอาจจะมีส่วนในการกำหนดว่าบุคคลนั้นจะได้ครองตำแหน่งหรือมีสิทธิในการเลือกตั้งในการประชุมก็ตาม
และอันที่จริง ก็มีบางตำแหน่งที่สงวนไว้สำหรับกลุ่มคนชั้นสูงโดยเฉพาะ เช่น เสนาบดีการคลัง ตำแหน่งนี้ก็มักจะตกเป็นของเหล่าชนชั้นสูงที่มั่งคั่ง
ประเด็นต่อไป ยังมีชาวเอเธนส์อีกจำนวนมากที่ถูกตัดออกจากการเมืองโดยสิ้นเชิง
หากลองคิดว่าในสมัยที่เอเธนส์เริ่มมีการพัฒนาประชาธิปไตย หากในเวลานั้นมีชายชาวเอเธนส์ประมาณ 30,000 คน นักประวัติศาสตร์ก็ได้คาดว่าจะมีบุคคลอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในเอเธนส์ประมาณ 90,000 คน โดยจำนวนมากก็คือเหล่าทาส และก็ยังมีคนต่างด้าวที่เป็นอิสระ แต่ก็ไม่ได้มีสิทธิเทียบเท่าพลเมืองเอเธนส์ ส่วนที่เหลือก็คือสตรีและเด็กที่ไม่สามารถร่วมการประชุม
ช่วงเวลาของประชาธิปไตยในเอเธนส์ยังคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เอเธนส์กลายเป็นอาณาจักร มีรัฐบาลของตน ซึ่งบางส่วนของรัฐบาลก็ได้รับอิทธิพลจากระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์จบลงเมื่อ 322 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อมาซิโดเนียได้เข้าปกครองแบบเผด็จการในเอเธนส์ หลังจากที่เอเธนส์พ่ายแพ้ต่อมาซิโดเนีย
แต่หนึ่งในมรดกที่ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์ได้ส่งผลต่อมา ก็คืออิทธิพลต่อสาธารณรัฐโรมัน โดยโรมันได้นำแนวคิดประชาธิปไตย และนำมาปรับปรุงเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ยุโรปจะสนใจในเวลาต่อมา
#siamstr #nostr
-----
ในยุค 500 ปีก่อนคริสตกาล นครรัฐ ”เอเธนส์ (Athens)” ได้เริ่มปูพื้นฐานระบอบการเมืองแบบใหม่
ระบอบการปกครองนี้เรียกว่า “Demokratia” เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยตรงที่มอบอำนาจทางการเมืองแก่พลเมืองเพศชายชาวเอเธนส์ที่เป็นอิสระ ไม่ใช่แค่ให้อำนาจปกครองแก่กลุ่มชนชั้นนำหรือเผด็จการ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในเอเธนส์มาหลายร้อยปีแล้ว
ระบอบ Demokratia ในเอเธนส์ ซึ่งใช้มาจนถึง 322 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของระบอบประชาธิปไตย ทรงอิทธิพลในแถบเมดิเตอเรเนียน และยังเป็นเหมือนต้นแบบแก่ระบอบการเมืองในนครรัฐอื่นๆ ของกรีกและสาธารณรัฐโรมัน
เผด็จการคนสุดท้ายที่ปกครองเอเธนส์คือ “ฮิปเปียส (Hippias)” ซึ่งได้หนีออกจากเมืองไปเมื่อ ”สปาร์ตา (Sparta)” ได้บุกมาเมื่อ 510 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนที่อีก 2-3 ปีต่อมา ขุนนางชาวเอเธนส์ที่ชื่อ “ไคลส์ธินีส (Cleisthenes)“ จะริเริ่มการปฏิรูประบอบประชาธิปไตย
หลังจากนั้นอีกหลายสิบปี ก็ได้มีการปฏิรูปที่ทำให้การปกครองระบอบนี้แพร่หลาย และก็มีประเด็นว่าจะนับยังไงว่าใครคือ “พลเมืองเอเธนส์”
การจะมีส่วนในระบอบ Demokratia บุคคลนั้นจะต้องเป็นชาวเอเธนส์เพศชาย และต้องเป็นบุคคลอิสระ ซึ่งในระยะเริ่มต้นของประชาธิปไตย ชายชาวเอเธนส์ก็คือบุคคลที่มีบิดาเป็นชาวเอเธนส์และมารดาเป็นบุคคลอิสระ
เมื่อถึงช่วงกลางยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ก็ได้มีการแก้กฎหมาย กำหนดว่ามีเพียงชายที่มีบิดามารดาเป็นชาวเอเธนส์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นพลเมืองเอเธนส์
ในเวลานั้นยังไม่มีสูติบัตร การตรวจดีเอ็นเอก็ยังไม่มี ดังนั้นชายหนุ่มชาวเอเธนส์ที่ต้องการจะเข้าสู่วงการเมือง ก็ต้องเริ่มจากการที่ให้ผู้เป็นบิดาแนะนำตนสู่หน่วยการเมือง สาบานตนว่าบุคคลผู้นี้คือบิดาของตนจริงๆ
ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์นั้นค่อนข้างจะไม่ใช่การเลือกผู้แทน หมายถึงว่าชายชาวเอเธนส์จะเป็นผู้จัดการประชุมขึ้นมาเอง โดยคาดการณ์ว่าในยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล จำนวนชายชาวเอเธนส์น่าจะมีอยู่ประมาณ 30,000 คน โดยจำนวน 5,000 คนนั้นอาจจะเป็นผู้ที่เข้าประชุมเป็นประจำ
อันที่จริง ก็มีตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ที่เปิดให้ชายชาวเอเธนส์เข้ามามีส่วนร่วม ถึงแม้ว่าความร่ำรวยและสถานะครอบครัวอาจจะมีส่วนในการกำหนดว่าบุคคลนั้นจะได้ครองตำแหน่งหรือมีสิทธิในการเลือกตั้งในการประชุมก็ตาม
และอันที่จริง ก็มีบางตำแหน่งที่สงวนไว้สำหรับกลุ่มคนชั้นสูงโดยเฉพาะ เช่น เสนาบดีการคลัง ตำแหน่งนี้ก็มักจะตกเป็นของเหล่าชนชั้นสูงที่มั่งคั่ง
ประเด็นต่อไป ยังมีชาวเอเธนส์อีกจำนวนมากที่ถูกตัดออกจากการเมืองโดยสิ้นเชิง
หากลองคิดว่าในสมัยที่เอเธนส์เริ่มมีการพัฒนาประชาธิปไตย หากในเวลานั้นมีชายชาวเอเธนส์ประมาณ 30,000 คน นักประวัติศาสตร์ก็ได้คาดว่าจะมีบุคคลอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในเอเธนส์ประมาณ 90,000 คน โดยจำนวนมากก็คือเหล่าทาส และก็ยังมีคนต่างด้าวที่เป็นอิสระ แต่ก็ไม่ได้มีสิทธิเทียบเท่าพลเมืองเอเธนส์ ส่วนที่เหลือก็คือสตรีและเด็กที่ไม่สามารถร่วมการประชุม
ช่วงเวลาของประชาธิปไตยในเอเธนส์ยังคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เอเธนส์กลายเป็นอาณาจักร มีรัฐบาลของตน ซึ่งบางส่วนของรัฐบาลก็ได้รับอิทธิพลจากระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์จบลงเมื่อ 322 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อมาซิโดเนียได้เข้าปกครองแบบเผด็จการในเอเธนส์ หลังจากที่เอเธนส์พ่ายแพ้ต่อมาซิโดเนีย
แต่หนึ่งในมรดกที่ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์ได้ส่งผลต่อมา ก็คืออิทธิพลต่อสาธารณรัฐโรมัน โดยโรมันได้นำแนวคิดประชาธิปไตย และนำมาปรับปรุงเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ยุโรปจะสนใจในเวลาต่อมา
#siamstr #nostr
-----