What is Nostr?
Jakk Goodday
npub1mqc…nz85
2024-10-31 08:44:09

อย่ารอชาติหน้า!

พรรคชาติหน้าพัฒนา สร้างชาตินี้ เจริญชาติหน้า

นี่ไม่ใช่บทความสรุปเนื้อหาไลฟ์ ผมแค่จะหยิบเอาโควทเจ๋งๆ ของพี่ชิตมาขยายความต่อตามความเข้าใจของผมเท่านั้นนะครับ (ใครยังไม่ได้ชมไลฟ์ตัวเต็ม กดดูเลยนะครับ) Right Talk EP.1

“พรรคชาติหน้าพัฒนา” ไม่ใช่พรรคการเมืองตามนิยามทั่วไป แต่เป็นแนวคิด หรือ อุดมการณ์ (พี่ชิตนิยามว่ามันเป็นโปรโตคอล) ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คำว่า “พรรค” ในที่นี้จึงเป็นการใช้ในเชิงสัญลักษณ์ หมายถึงกลุ่มคนที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน (เหล่าบิตคอยเนอร์) คือการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในระยะยาว

“สร้างชาตินี้” ก็คือการเน้นย้ำถึงการลงมือทำอย่างจริงจังในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่นอนฝันหรือรอคอยอนาคต การสร้างรากฐาน การพัฒนาตนเอง การสะสมความรู้และทรัพยากร ล้วนเป็นการสร้างเพื่ออนาคต

“ชาติหน้า” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงชาติภพหน้าทางศาสนา แต่เป็นการเปรียบเปรยถึงอนาคตระยะยาว ผลลัพธ์ของการ “สร้างชาตินี้” อาจไม่ปรากฏในทันที แต่จะส่งผลดีในอนาคตอย่างแน่นอน เหมือนกับการลงทุนระยะยาว หรือการปลูกต้นไม้ที่ต้องใช้เวลากว่าจะเติบโตและออกดอกผลิผล

1. “Free Market Capitalism ในอดีตมันมีจุดอ่อนอยู่จุดเดียว มันยังไม่มี Free Market Money”

พี่ชิตมองว่าระบบทุนนิยมเสรีที่ผ่านๆ มายังไม่ใช่ของจริง มันเหมือนเล่นเกมส์ที่มีคนโกง คือมีรัฐเนี่ยแหละที่เป็นตัวแสบ คอยแทรกแซงตลาดอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเงินตรา การออกกฎหมาย การเก็บภาษี พวกนี้แม่งโคตรบิดเบือนตลาดเลย

ทีนี้ “จุดอ่อน” ที่พี่ชิตแกพูดถึงก็คือ “Free Market Money” หรือเงินที่เป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐนั่นเอง

คือถ้าเงินแม่งยังอยู่ในมือรัฐ มันก็จะคอยปั่น คอยแทรกแซง ทำให้ตลาดแม่งไม่เสรีจริงๆ สักที เหมือนเราเล่นไพ่ แล้วเจ้ามือแม่งแอบดูไพ่มึงเร่ เราจะชนะได้ยังไง?

แล้ว “Free Market Money” มันคืออะไรวะ?

ก็ Bitcoin ไง Bitcoin แม่งไม่มีใครควบคุมได้ ไม่มีรัฐบาลไหน ธนาคารไหนมาสั่งซ้ายหันขวาหันได้ มันเป็นเงินของประชาชนอย่างแท้จริง

พอมี Bitcoin เข้ามา ระบบทุนนิยมเสรีก็จะสมบูรณ์แบบ ตลาดก็จะเสรีจริงๆ สักที เล่นไพ่แล้วเจ้ามือแม่งยุติธรรม เล่นตามกติกา แบบนี้ถึงจะแฟร์

นี่แหละ Key สำคัญที่พี่ชิตแกพยายามจะสื่อ คือถ้าอยากให้ระบบทุนนิยมเสรีมันเวิร์ค มึงต้อง “Fix the Money” ก่อน แล้วโลกแม่งก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง

2. “Fix the Money, Fix the World”

แกหมายความว่า.. ปัญหาโลกส่วนใหญ่ เช่น ความเหลื่อมล้ำ ก็มาจากระบบเงินตราที่ห่วยแตกนี่แหละ เงินเฟ้อ รัฐบาลพิมพ์เงินมั่วซั่ว พวกนี้แม่งโคตรทำลายชีวิตคน

ถ้าเราแก้ระบบเงินได้ เปลี่ยนไปใช้ Bitcoin ที่ไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครปั่นได้ โลกมันก็จะดีขึ้นเอง ปัญหาต่างๆ ก็จะค่อยๆ หายไป

เหมือนกับการซ่อมรากฐานบ้าน ถ้ารากฐานมันดี บ้านมันก็จะแข็งแรง อยู่ได้นาน แต่ถ้ารากฐานมันพัง ต่อให้ทาสีบ้านสวยแค่ไหน สุดท้ายมันก็พังอยู่ดี

3. “Bitcoiner ก็เป็นสมาชิกพรรคพี่ชิตหมดแล้ว”

มันไม่ได้หมายความว่า Bitcoiner ต้องไปสมัครพรรคการเมืองอะไร

“พรรคชาติหน้าพัฒนา” มันไม่ใช่พรรคการเมืองจริงๆ แต่มันคือแนวคิด คืออุดมการณ์ คือวิถีชีวิต ที่เน้นการพึ่งพาตัวเอง การกระจายอำนาจ เสรีภาพ และ Bitcoin ตอบโจทย์ทั้งหมดนี้เลย

Bitcoiner ส่วนใหญ่ก็จะมี Mindset คล้ายๆ แบบนี้ คือไม่ชอบให้ใครมาควบคุม ชอบอิสระ เชื่อในการกระจายอำนาจ เพราะงั้น Bitcoiner ก็เลยเหมือนเป็นสมาชิก “พรรคชาติหน้าพัฒนา” โดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องไปสมัครอะไรเลย มันอยู่ในสายเลือด อยู่ใน DNA ของ Bitcoiner อยู่แล้ว

4. “Work, Saving, Stacking นี่คือพวกเราทำงานให้กับพรรคชาติหน้าพัฒนา”

พวกเราที่ทำงาน หาเงิน เก็บออม แล้วเอาเงินไปซื้อ Bitcoin สะสมไว้เนี่ย มันคือการทำงานให้กับพรรคชาติหน้าพัฒนาในทางอ้อม

เพราะการที่เรา Stack sats มันคือการสนับสนุน Decentralization การต่อต้านอำนาจรวมศูนย์ และการสร้าง Free Society ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพรรคชาติหน้าพัฒนานั่นเอง

พวกเราเป็นเหมือน “เซลล์” ที่ช่วยกันขับเคลื่อนพรรคให้เติบโต ยิ่งเรา Stack sats มากเท่าไหร่ พรรคก็ยิ่งแข็งแกร่งและเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นเท่านั้น

มันเหมือนกับการที่เรา Contribute ให้กับ Open Source Project เราอาจจะไม่ได้เป็น Developer เขียนโค้ด แต่เราก็สามารถสนับสนุนโครงการได้ด้วยการบริจาคเงินหรือช่วยโปรโมทได้ ซึ่งมันก็เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน Project นั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน

มันคือการทำงานเพื่อ “อุดมการณ์” เพื่อ “อนาคต” ในแบบที่เราอยากเห็น ไม่ใช่แค่การทำงานเพื่อเงินเดือนหรือผลประโยชน์ส่วนตัว

5. “Decentralization มันอยู่ใน DNA ของคำว่าสุวรรณภูมิ”

พี่ชิตต้องการจะสื่อว่า Decentralization มันเป็นรากเหง้า เป็นแก่นแท้ของภูมิภาคสุวรรณภูมิมาตั้งแต่โบราณแล้ว

สมัยก่อน.. แถบนี้ไม่ได้มีรัฐบาลกลางที่แข็งแกร่ง มีแต่ชุมชนเล็กๆ เมืองเล็กๆ กระจายอยู่เต็มไปหมด

ต่างคนต่างปกครองตัวเอง พึ่งพาตัวเอง ค้าขายแลกเปลี่ยนกันอย่างอิสระ ไม่มีใครมาบังคับ

มันก็เลยเหมือนกับ Decentralization ในโลก Bitcoin ที่ไม่มีใครคุม ไม่มีตัวกลาง ทุกคนมีอำนาจเท่าเทียมกัน

Decentralization แบบนี้แหละ ที่ทำให้สุวรรณภูมิเจริญรุ่งเรืองในอดีต และพี่ชิตก็เชื่อว่า Decentralization นี่แหละที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย และภูมิภาคนี้ในอนาคต

6. “รวมกันเราอยู่ แต่ไม่อนุญาตให้ใครเอาเปรียบซึ่งกันและกัน”

การอยู่ร่วมกันในสังคมมันต้องมี “กฎ” มี “กติกา” ที่ทุกคนต้องเคารพ เพื่อป้องกันไม่ให้ใครเอาเปรียบใคร

เหมือนในโลก Bitcoin ที่มี “Consensus Rules” คอยควบคุมระบบ ทำให้ทุกคนเล่นตามกฎเดียวกัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ

แต่กฎที่ว่านี้.. มันต้องมาจากความสมัครใจ ไม่ใช่มาจากการบังคับหรืออำนาจรวมศูนย์ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างและยอมรับกฎนั้นๆ

พูดง่ายๆ คือ รวมกันเราอยู่ก็จริง แต่มันต้องแฟร์ ต้องยุติธรรมด้วย

ไม่ใช่รวมกันเพื่อให้ใครบางคนรวย หรือ รวมกันเพื่อให้ใครบางคนมีอำนาจ

7. “ความจริงมันมีอยู่แล้ว แต่ความจริงแม่งช้า”

พี่ชิตพูดถึงธรรมชาติของ “ความจริง” ซึ่งความจริงมันก็มีอยู่แล้ว มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ หรือความคิดเห็นของใคร

แต่มันอาจจะต้องใช้เวลา กว่าที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจและยอมรับความจริงนั้น

เหมือนกับตอนที่คนสมัยก่อนเชื่อว่าโลกแบน แต่ความจริงคือโลกกลม กว่าที่คนส่วนใหญ่จะยอมรับความจริงนี้ได้ก็ปาไปตั้งหลายร้อยปี

Bitcoin ก็เหมือนกัน..

พี่ชิตเชื่อว่า Bitcoin คือ “ความจริง” คือ “อนาคตของเงิน” แต่ตอนนี้คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เข้าใจ ยังมองว่ามันเป็นแค่ของเล่น การพนัน หรือ แชร์ลูกโซ่

แต่สักวันหนึ่ง.. ความจริงของ Bitcoin จะปรากฏ และทุกคนจะยอมรับมัน เหมือนที่พี่ชิตบอกว่า..

“อีก 10 ปีมึงไม่ต้องเชิญเลย”

คืออีก 10 ปี คนจะเข้าใจ Bitcoin กันหมด ไม่ต้องมาจัดสัมมนาหรือเสียอธิบายอะไรกันอีกแล้ว

มันก็เหมือนกับ “ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย”

ต่อให้ตอนนี้คนส่วนใหญ่จะยังไม่เชื่อ ไม่เข้าใจ แต่สุดท้ายแล้วความจริงก็จะชนะ และเปิดเผยตัวเองออกมาเอง

เพียงแต่เราต้องอดทนรอหน่อยเท่านั้นเอง…

8. “Leave me alone”

สะท้อนแนวคิด Libertarian ที่เน้น “อิสรภาพส่วนบุคคล” แบบสุดๆ

คือพี่ชิตไม่อยากให้ใคร แม้แต่รัฐบาล มาควบคุม หรือบังคับแก แกอยากจะทำอะไรก็ทำ อยากใช้ชีวิตยังไงก็ใช้ โดยที่ไม่ต้องมีใครมาจุ้นจ้าน

พี่ชิตมองว่า.. รัฐบาลควรมีบทบาทน้อยที่สุด แค่คอยดูแลความสงบเรียบร้อยและรักษาความยุติธรรมก็พอ ส่วนเรื่องอื่นๆ ประชาชนควรจัดการกันเอง

“Leave me alone” จึงเป็นเสียงสะท้อนจากใจของคนที่เบื่อระบบราชการ กฎระเบียบและการแทรกแซงจากรัฐ

แกอยากให้ทุกคน “Take care yourself” พึ่งพาตัวเองให้ได้ ไม่ใช่รอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล มันก็เหมือนกับโลก Bitcoin ที่ไม่มีใครควบคุม ไม่มีตัวกลาง ทุกคนมีอิสระในการทำธุรกรรม โดยไม่ต้องขออนุญาตใคร

สังคมที่ดี คือ สังคมที่ให้อิสระกับปัจเจกชน

ให้แต่ละคนได้เลือกและรับผิดชอบชีวิตตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับหรือชี้นำ

9. “Overhead 70% ไอ้สัส! Payload 30%”

พี่ชิตเปรียบเทียบ (ด่าแหละ) รัฐบาลเหมือนกับบริษัท ที่ดันมี Overhead (ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ) สูงถึง 70% ในขณะที่ Payload (งานที่ส่งมอบให้ประชาชนจริงๆ) มีเพียงแค่ 30%

คือ.. รัฐบาลเอาภาษีประชาชนไปใช้จ่ายกับอะไรก็ไม่รู้ (อาทิ.. เงินเดือนข้าราชการ ค่าดูงานต่างประเทศ ค่าจัดเลี้ยง ค่าสัมมนา ฯลฯ เต็มไปหมด) แต่ผลงานที่ประชาชนได้รับกลับน้อยนิด

แกเลยด่าว่า “ไอ้สัส!” ด้วยความฉุนเฉียว เพราะมันไม่สมเหตุสมผล ไม่คุ้มค่า และเป็นการเอาเปรียบประชาชนชัดๆ

พี่ชิตอยากให้รัฐบาล “Downsize” ลดขนาดองค์กร ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้ Payload มันสูงขึ้น ประชาชนจะได้ประโยชน์มากขึ้น

รัฐบาลไม่ควรใหญ่เกินไป ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับชีวิตประชาชนมากเกินไป ควรปล่อยให้ประชาชน “Take care yourself” จัดการตัวเอง

10. “เขาคุยเรื่อง “UBI, Universal Basic Income กันแล้ว, You own nothing but you’ll be happy”

พี่ชิตพูดถึงกระแส UBI ที่กำลังมาแรง คือการที่รัฐบาลแจกเงินให้ประชาชนใช้ฟรีๆ ทุกเดือน แล้วก็มีคำพูดที่ว่า “คุณจะไม่มีอะไรเป็นของตัวเอง แต่คุณจะมีความสุข” ซึ่งแม่งโคตรย้อนแย้ง และโคตรอันตรายเลย

คือพี่ชิตมองว่า UBI มันเป็นแนวคิดสังคมนิยมสุดโต่งที่ทำให้คนขี้เกียจ ไม่ยอมพึ่งพาตัวเอง รอแต่เงินแจกจากรัฐบาล แล้วพอคนไม่ทำงาน ไม่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม เศรษฐกิจมันก็พังพินาศ

ส่วนประโยค “You own nothing but you’ll be happy” แกมองว่าแม่งโคตรหลอกลวง

คือมึงจะไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย ทุกอย่างเป็นของรัฐ แล้วมึงจะมีความสุขได้ยังไงวะ?

มันเหมือนอยู่ในคุก มีข้าวกิน มีที่นอน แต่ไม่มีอิสระ มึงจะมีความสุขหรอ?

พี่ชิตเชื่อในเสรีภาพ เชื่อในการพึ่งพาตัวเอง เชื่อในการสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่ใช่รอเงินแจกจากรัฐบาล UBI มันเลยสวนทางกับแนวคิดของแกโดยสิ้นเชิง แล้วแกก็มองว่ามันเป็นภัยคุกคามต่อเสรีภาพของมนุษย์ด้วย

11. “ในขณะที่โลกฝักใฝ่ทางซ้าย แต่พวกมึงดันมุ่งไปทางขวา เพราะพวกมึงแม่งคือ Right Shift”

พี่ชิตแกหมายถึงโลกปัจจุบันกำลังไปทางซ้าย คือแนวคิดสังคมนิยม รัฐสวัสดิการ รัฐบาลใหญ่ ควบคุมทุกอย่าง แจกเงิน ฯลฯ

แต่พวก Bitcoiner หรือกลุ่มคนที่เชื่อในแนวคิดแบบเดียวกันกับแก ดันไปทางขวา ซึ่งก็คือแนวคิดเสรีนิยม เน้นความรับผิดชอบ พึ่งพาตัวเอง กระจายอำนาจ รัฐบาลเล็กลง

“Right Shift” ก็คือการเปลี่ยนทิศทาง จากซ้ายไปขวา จากการพึ่งพารัฐ ไปสู่การพึ่งพาตนเอง

นี่แหละ.. ชื่อนี้ (ชื่อเรา) จึงสอดคล้องกับแกนหลักของแนวคิดพี่ชิต ที่พยายามจะสื่อให้เห็นว่ามันมีอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ใช่การพึ่งพารัฐบาล แต่เป็นการสร้างความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรืองด้วยตัวเอง

12. “Right Shift, Take care yourself, Self Regulate, Decentralization นั่นคือ Right Shift”

“Right Shift” หรือการ “ขยับไปทางขวา” “มุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้อง” ในความหมายของพี่ชิต มันก็คือ การดูแลตัวเอง (Take care yourself) การควบคุมตัวเอง (Self Regulate) และการกระจายอำนาจ (Decentralization) นั่นเอง

ทั้งหมดนี้มันเชื่อมโยงกัน คือ ถ้ามึงดูแลตัวเองได้ ควบคุมตัวเองได้ และเชื่อในการกระจายอำนาจ แทนที่จะพึ่งพารัฐบาล มึงก็จะก้าวไปสู่ “Right Shift” ได้

Bonus quotes

13. “กบกำลังถูกต้มอยู่ในหม้อ มันต้องร้อนขึ้น”

นี่คือการเปรียบเปรยสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับปัญหาใหญ่กันอยู่

เหมือนกบที่ถูกต้มช้าๆ มันจะไม่รู้ตัวว่าน้ำกำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายมันก็ตาย

ปัญหาต่างๆ เช่น เงินเฟ้อ ความเหลื่อมล้ำ ระบบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพ มันก็ค่อยๆ ร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่รับไม่ได้

พี่ชิตใช้ประโยคนี้เพื่อเตือนสติว่า.. อย่าได้ประมาท อย่าปล่อยให้ตัวเองถูกต้มจนตาย ต้องตระหนัก และหาทางออกก่อนที่มันจะสายเกินไป

14. “ลิงมันขายไอเดียไม่ได้”

เปรียบเทียบมนุษย์กับลิง เพื่อเน้นย้ำถึงความสามารถเฉพาะตัวของมนุษย์ในการสื่อสาร และโน้มน้าวใจผู้อื่น

ลิงอาจจะฉลาด แต่ก็สื่อสารหรือขายไอเดียไม่ได้เหมือนมนุษย์

มนุษย์มีความสามารถในการสร้างเรื่องราว สร้างแรงบันดาลใจ โน้มน้าวใจ เพื่อให้คนอื่นเชื่อและทำตาม

นี่แหละคือข้อได้เปรียบที่มนุษย์มีเหนือสัตว์อื่นๆ และเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม และโลกใบนี้

15. “เบียร์ไม่มีช้อยส์”

พี่ชิตพูดในบริบทที่หมายถึง.. บางครั้งในชีวิต เราก็ไม่มีทางเลือกหรือมีทางเลือกจำกัด

เหมือนเวลาเลือกดื่ม.. บางทีก็มีแค่เบียร์ให้เลือก ไม่มีอะไรอื่น มันก็ต้องดื่มเบียร์ไป

นั่นแหละ.. บางทีชีวิตเราก็เป็นแบบนั้น ต้องยอมรับ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ไปก่อน

16. “อเมริกาแอบแดกฟรีอยู่”

หมายถึงนโยบายต่างประเทศของอเมริกา ที่ใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธ เพื่อรักษาอำนาจ และเอาเปรียบประเทศอื่นๆ

อเมริกาใช้ดอลลาร์เป็นเงินทุนสำรองโลก ทำให้ประเทศอื่นๆ ต้องพึ่งพาดอลลาร์ แล้วอเมริกาก็ใช้จุดนี้เป็นข้อได้เปรียบในการควบคุมเศรษฐกิจและการเมืองโลก

เหมือนกับการที่มึงมีของดี แล้วมึงก็บังคับให้คนอื่นต้องซื้อของมึง โดยที่มึงไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย

พี่ชิตแกมองว่า นี่คือการ “แอบแดกฟรี”

คือได้ประโยชน์มหาศาลโดยที่ไม่ต้องลงทุนและไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ เป็นการใช้ประโยชน์จากระบบที่ไม่เป็นธรรม

17. “กรรมที่อเมริกาต้องชดใช้”

ประโยคนี้พี่ชิตไม่ได้หมายความว่าอเมริกาจะต้องไปนรกหรืออะไรแบบนั้น.. แกใช้คำนี้ในบริบทของการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจโลกและการกระจายอำนาจ

อเมริกาเคยใช้อำนาจของตัวเอง โดยเฉพาะ “ดอลลาร์” เพื่อครอบงำและเอาเปรียบประเทศอื่นๆ มานาน นั่นคือ “กรรม” ที่อเมริกาได้สร้างขึ้น

แต่ตอนนี้.. ระบบการเงินและอำนาจกำลังเปลี่ยนแปลง

Bitcoin กำลังมา ซึ่งเป็นระบบที่กระจายอำนาจ ไม่มีใครควบคุมได้ อเมริกาจึงกำลังเผชิญผลของการกระทำในอดีต นั่นคือ การสูญเสียอำนาจและอิทธิพล

นั่นแหละ “กรรม” ที่ต้องชดใช้

18. “มึงเป็นไก่ ไอ้สัส! ทำไมทำตัวเป็นกา เป็นปรสิต?”

“กา” และ “ปรสิต” คือพวกที่ไม่สร้างคุณค่าอะไรให้กับสังคม แต่ดันพึ่งพา เอาเปรียบคนอื่น เหมือนกาที่ขโมยกิน หรือปรสิตที่อาศัยดูดเลือดคนอื่นอยู่รอด

ส่วน “ไก่” ในที่นี้ หมายถึงคนที่สร้างคุณค่า ทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง

พี่ชิตแกเลยอยากให้ทุกคนเป็นไก่ พึ่งพาตัวเอง สร้างคุณค่าให้กับสังคม อย่าไปเป็นภาระ หรือเอาเปรียบใคร

การเปรียบเที่ยบด้วยโควทนี้ก็เพื่อให้เราได้สติ ได้คิด มันเป็นการตักเตือนที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ก็แฝงด้วยความหวังดี

อยากให้พวกเราพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น

19. “โลกยังหมุนรอบตัวเองเลย”

นี่คือการตอกย้ำหลักการพื้นฐานของธรรมชาติ คือทุกอย่างต้องทำงาน ต้องสร้างคุณค่า เพื่อความอยู่รอด

พี่ชิตใช้ประโยคนี้ต่อจากการพูดถึงการพึ่งพาตัวเอง การสร้างคุณค่า การไม่เป็นภาระสังคม

จะเห็นว่าแกพยายามจะสื่อว่า การดำรงอยู่ไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกอย่างแม่งต้องทำงาน ทุกอย่างแม่งต้องหมุนเวียน

เหมือนโลกที่ยังหมุนรอบตัวเองอยู่ทุกวันนี้ มนุษย์ก็เช่นกัน ต้องพึ่งพาตัวเอง สร้างคุณค่า เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ ไม่ใช่รอให้คนอื่นมาเลี้ยงดู

20. “กูเกลียดคำว่า Policy”

พี่ชิตไม่ได้เกลียดนโยบายโดยทั่วไป แต่แกเกลียด “Policy” ในบริบทของระบบราชการ ที่มันยุ่งยาก ซับซ้อน ไร้ประสิทธิภาพและมักไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน

คือพี่ชิตมองว่า Policy ส่วนใหญ่ มันเป็นแค่ตัวหนังสือ เป็นแค่กฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นโดยคนกลุ่มเล็กๆ เพื่อที่จะควบคุมและบริหารจัดการคนส่วนใหญ่

แต่สุดท้าย.. มันกลับกลายเป็นอุปสรรค เป็นภาระ ที่ทำให้การทำงานต่างๆ ช้าลง ไม่คล่องตัว และเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล

พี่ชิตเลยอยากเห็นระบบที่เรียบง่าย โปร่งใส ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ใช่ระบบที่ถูกควบคุมด้วย Policy ที่ยุ่งยาก และไร้ประสิทธิภาพ

21. “Democratize retail work”

พี่ชิตหมายถึง.. การกระจายงานให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ใช่แค่ให้คนกลุ่มเดียว หรือองค์กรเดียว ทำ

ยกตัวอย่างเรื่องการจัดการผักตบชวา.. แทนที่จะให้รัฐบาลจัดการเอง ซึ่งใช้เวลา งบประมาณมหาศาลและประสิทธิภาพต่ำ แกเสนอให้กระจายงานออกไป ให้คนในชุมชนหรือคนที่มีความสามารถเข้ามาทำ โดยมีระบบตรวจสอบและให้รางวัลคนที่ทำงานได้ดี

แบบนี้มันจะทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ประหยัดงบประมาณและคนในชุมชนก็ได้มีส่วนร่วม สร้างความรับผิดชอบและความยั่งยืน

เป็นการเปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์ ไปสู่ระบบกระจายอำนาจในเชิงปฏิบัติ

22. “นี่คือ Future of Work”

พี่ชิตมองว่า.. อนาคต การทำงานจะไม่ใช่การทำงานเพื่อนายจ้างหรือองค์กรใหญ่ๆ อีกต่อไป

แต่จะเป็นการทำงานแบบกระจายอำนาจ ทุกคนเป็นอิสระ รับผิดชอบงานของตัวเอง สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวเอง แล้วก็ได้รับผลตอบแทนตามความสามารถ

เหมือนกับ Bitcoin ที่มันไม่มีเจ้านาย ไม่มีคนกลาง ทุกคนมีส่วนร่วม ทุกคนได้ประโยชน์

23. “ชิดซ้าย เพื่อ Make a U-turn”

ชิดซ้าย แต่กูไม่ใช่ฝ่ายซ้าย! (ฮา) กูชิดซ้าย (นามสกุลซ้ายเกล้า) เพื่อเตรียมจะยูเทิร์นไปทางขวาโว้ย!

เอาจริงๆ นัยยะของพี่ชิตแกไม่ได้หมายถึงการขับรถ แต่เป็นการเปรียบเปรยถึงการเตรียมตัวก่อนเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ในบริบทของบทสนทนา มันหมายถึงการเตรียมตัวก่อนที่จะเปลี่ยนจากระบบเดิมๆ ที่เน้นการพึ่งพารัฐ ไปสู่ระบบใหม่ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง การกระจายอำนาจ (Right Shift)

“ชิดซ้าย” จึงเป็นเหมือนการเตรียมตัว การวางแผน ก่อนที่จะ “Make a U-turn” หรือหักเลี้ยวเปลี่ยนไปสู่เส้นทางใหม่ ซึ่งก็คือการก้าวไปสู่โลกแบบ Decentralization นั่นเอง (คิดได้..)

24. “หลอกพวกมึงด้วยการสร้างกุศลบายให้มึงเชื่อในนรกสวรรค์”

พี่ชิตแกไม่ได้ต่อต้านศาสนาโดยตรง แต่แกกำลังวิจารณ์การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือควบคุมคน การใช้ความกลัว ความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ มาบังคับ มาควบคุม มาชี้นำพฤติกรรมของคน โดยที่ไม่ได้เน้นเหตุผลหรือการลงมือทำจริง

มันเหมือนกับการใช้ “กุศโลบาย” หรือกลอุบาย มาหลอกลวง ให้คนเชื่อและทำตาม โดยที่ไม่ได้ให้ความรู้หรือสร้างความเข้าใจที่แท้จริง พี่ชิตแกอยากให้คนใช้เหตุผล ใช้ความรู้ และลงมือทำ ไม่ใช่แค่เชื่ออย่างงมงาย

25. “ถ้ามันจะเกิดในอีก 5 วัน พวกมึงจะไปทำอะไรได้?”

พี่ชิตเน้นย้ำถึงความรวดเร็วและความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโอกาสที่จะเกิดขึ้นจาก Bitcoin

ซึ่งถ้าโอกาสดีๆ มันมาถึงเร็วมาก มึงจะเตรียมตัวทันมั้ย? มึงจะรับมือไหวมั้ย?

(ในบริบทของการสนทนาคือ หากทรัมป์ได้รับเลือกเป็น ปธณ. อเมริกา มีการคาดหมายว่าจะส่งผลดีต่อบิตคอยน์)

เอาจริงๆ มันเหมือนเป็นการเตือนสติว่า อย่าประมาท อย่าชะล่าใจ เพราะโอกาสอาจจะมาถึงเร็วกว่าที่คิด

ส่วนประโยค “ขายตูดซื้อไม่ทันเลย” ของอิสร

นี่คือมุขตลก ถ้ามึงไม่ทัน มึงก็จะเสียโอกาส เหมือนกับมึงต้องขายของมีค่า เพื่อเอาเงินไปซื้อ Bitcoin แต่ก็ยังไม่ทัน มันโคตรเสียดาย

แล้วคุณล่ะ..

อยากให้ใครได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ?

26. “มันคือการเอาเงินคนอื่นไปทำบุญ”

พี่ชิตวิจารณ์นโยบายประชานิยม โดยเฉพาะการที่รัฐบาลเอาเงินภาษีของประชาชนไปแจก หรือไปทำโครงการต่างๆ โดยที่ไม่ได้รับความยินยอม หรือไม่ได้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับประชาชน

แกมองว่า.. มันก็เหมือนกับการที่รัฐบาลเอาเงินของประชาชนไป “ทำบุญ” โดยที่ประชาชนไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะบริจาคเงินไปทำอะไร

มันเป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใส และไม่เคารพสิทธิ์ของประชาชน

แกเน้นย้ำว่า การทำบุญหรือการใช้เงิน ควรมาจากความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ หรือการใช้เงินโดยไม่คำนึงถึงความต้องการหรือประโยชน์ของผู้ที่ถูกใช้เงิน ไม่ใช่ตัวเองได้บุญ ได้หน้าอยู่คนเดียว แต่คนทั้งประเทศต้องมาคอยรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน

จริงๆ แล้วในไลฟ์นี้มีประโยคเด็ดอีกมากมายจากพี่ชิตเต็มไปหมด ถือเสียว่าผมแค่เอาน้ำจิ้มบางส่วนมาให้ลองชิมก็แล้วกัน ถ้าจะเก็บให้ครบทั้งหมดควรต้องไปดูด้วยตัวเองครับ

สุดท้ายแล้ว “พรรคชาติหน้าพัฒนา” มันคืออะไรแน่?

เอาง่ายๆ เลยนะ พี่ชิตแกเห็น Pain Point หลักๆ มาจาก 2 อย่างใหญ่ๆ คือ ระบบการเงินโลกที่บิดเบี้ยว และ ระบบการเมืองที่ล้าหลัง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก

ระบบการเงินที่บิดเบี้ยว คือ รัฐบาลมีอำนาจควบคุมเงิน พิมพ์เงินมั่วซั่ว ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ความเหลื่อมล้ำ คนจนยิ่งจน คนรวยยิ่งรวย

นี่แหละคือต้นตอของปัญหาสารพัด พี่ชิตเลยมองว่าต้องแก้ที่ระบบเงินก่อน ด้วย Bitcoin ที่เป็น Free Market Money อิสระจากรัฐบาล

ส่วน ระบบการเมืองที่ล้าหลัง คือ รัฐบาลใหญ่ แทรกแซงทุกอย่าง ประชาชนอ่อนแอ พึ่งพารัฐอย่างเดียว ไม่มีเสรีภาพ ไม่มีการกระจายอำนาจ

พี่ชิตเลยคิด “พรรคชาติหน้าพัฒนา” ขึ้นมา ไม่ใช่พรรคการเมืองจริงๆ แต่เป็น Protocol หรือแนวคิด ที่จะ Empower ประชาชน ให้พึ่งพาตัวเอง มีเสรีภาพทางการเงินและมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตัวเอง โดยใช้ Bitcoin เป็นเครื่องมือสำคัญ

ทำไมต้องปี 2575?

นี่น่าจะเป็นการตั้งเป้าหมายระยะยาวมากกว่า อาจจะหมายถึงช่วงเวลาที่ Bitcoin และแนวคิด Decentralization แพร่หลายมากพอ จนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้

หรืออาจจะเป็นแค่การเปรียบเปรย เพราะการสร้างอะไรใหม่ๆ มันต้องใช้เวลา เหมือนการปลูกต้นไม้ กว่าจะโต กว่าจะออกผล มันต้องใช้เวลาหลายปี

การตั้งเป้าหมายไว้ที่ปี 2575 ก็อาจจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและความหวังให้กับผู้คนก็ได้ ไม่ใช่เป้าหมายที่ตายตัวอะไรขนาดนั้น

(หรือไม่ก็ล้อไปกับเรื่องการปกครองที่เปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี 2475 แต่ก็ไม่พัฒนาไปถึงไหน ครบรอบ 100 ปีก็ควรจะ Change กันได้แล้ว)

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่พี่ชิตแกอยากจะสื่อ และเป็นแรงจูงใจที่ทำให้แกผุดแนวคิด “พรรคชาติหน้าพัฒนา” (as a protocol) ขึ้นมานั่นเองครับ

Author Public Key
npub1mqcwu7muxz3kfvfyfdme47a579t8x0lm3jrjx5yxuf4sknnpe43q7rnz85